คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9308

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9308/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1349, 1350 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ม. 4, 5, 15

คลองเปรมประชากรเป็นคลองประเภท2ตามพระราชบัญญัติ การชลประทานหลวงพ.ศ.2485มาตรา5ซึ่งประชาชนสามารถขับเรือหางยาวที่ไม่ใช่เรือโดยสารในคลองได้และในปัจจุบันเรือหางยาวก็สามารถแล่นในคลองดังกล่าวได้เพราะสภาพคลองมีน้ำเต็มคลองเปรมประชากรจึงเป็นทางน้ำที่ราษฎรทั่วไปมีสิทธิใช้สัญจรไปมาได้และเป็นทางสาธารณะตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349,1350แม้พระราชบัญญัติ การชลประทานหลวงพ.ศ.2485มาตรา15จะบัญญัติให้อธิบดีกรมชลประทานมีอำนาจปิดขุดลอกห้ามจำกัดหรือกำหนดเงื่อนไขในการนำเรือแพผ่านทางน้ำชลประทานก็ตามแต่อำนาจดังกล่าวก็เป็นการกำหนดไว้เพื่อให้อธิบดีกรมชลประทานจัดการดูแลรักษาทางน้ำชลประทานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเพื่อประโยชน์ของการชลประทานเท่านั้นหาทำให้ทางน้ำที่ราษฎรใช้ในการคมนาคมกลายสภาพเป็นทางน้ำที่ไม่ใช่ทางสาธารณะไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่คลองเปรมประชากรซึ่งเป็นทางสาธารณะได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 68, 69, 288, 80

ผู้เสียหายใช้ไม้ท่อนยาวประมาณ1ศอกขว้างถูกจำเลยจนจำเลยตกลงไปในสระน้ำแล้ววิ่งเข้าหาจำเลยใช้ไม้ตีซ้ำอีกในขณะที่จำเลยกำลังขึ้นจากสระน้ำจำเลยก็ชอบที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงโดยพอสมควรแก่เหตุได้ฉะนั้นการที่จำเลยใช้อาวุธแทงทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย3ครั้งเพื่อยับยั้งมิให้ผู้เสียหายใช้ไม้ท่อนตีทำร้ายร่างกายจำเลยอีกต่อไปไม่ว่าอาวุธที่จำเลยใช้แทงผู้เสียหายเป็นอาวุธมีดดังที่โจทก์นำสืบหรือเป็นใบเลื่อยดังที่จำเลยอ้างแต่เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ท่อนที่ผู้เสียหายใช้ตีทำร้ายร่างกายจำเลยแล้วเป็นกระทำไปพอสมควรแก่เหตุการกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา68จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1312, 1364

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312เป็นบทบัญญัติเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นแต่ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินก่อนที่จะมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมขณะปลูกสร้างยังไม่ทราบว่ามีการรุกล้ำกันอย่างไรหรือไม่หลังจากแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้วจึงทราบว่าส่วนที่เป็นครัวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของก. ซึ่งที่ดินส่วนของก.นี้ต่อมาได้ขายให้แก่โจทก์จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการหากแต่เกิดจากการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมกรณีตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312ดังกล่าวข้างต้น ก่อนมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่างมีข้อตกลงกันให้เจ้าของรวมแต่ละคนรื้อถอนบ้านสิ่งปลูกสร้างไปปลูกในที่ดินส่วนของตนซึ่งทั้งก. และส. เจ้าของรวมต่างก็ได้รื้อถอนบ้านจากที่เดิมไปปลูกในที่ดินส่วนของตนแล้วคงเหลือแต่จำเลยเท่านั้นที่ยังไม่ได้รื้อถอนครัวที่รุกล้ำแม้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยเพราะจำเลยมิได้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเพียงแต่มีสิทธิในที่ดินส่วนของท. ก็ตามแต่การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวได้ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของท.เจ้าของรวมคนหนึ่งและแม้จำเลยจะปลูกสร้างโรงเรือนมาตั้งแต่ปี2502และครัวที่รุกล้ำปลูกสร้างมาก่อนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก็หาทำให้ข้อตกลงในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ผูกพันจำเลยไม่เมื่อก.เจ้าของที่ดินเดิมและโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไปจำเลยจึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 161 วรรคหนึ่ง, 166, 284

การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินส่วนแบ่งจากเงินที่มีการประมูลขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยตามคำพิพากษาแล้วจำเลยไม่ยอมชำระราคาค่าซื้อรวมทั้งค่าธรรมเนียมการขายหลังจากจำเลยประมูลราคาซื้อได้แล้วโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนการชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต่อศาลชั้นต้นถือได้ว่าจำเลยเจตนาที่จะประวิงการบังคับคดีโดยไม่สุจริตเพื่อที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับการชำระเงินส่วนแบ่งตามสิทธิของโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดที่ดินแปลงอื่นของจำเลยรวม4แปลงเพื่อบังคับคดีเอาเงินมาชำระส่วนแบ่งของโจทก์บ่องบอกเจตนาของโจทก์ได้ว่าโจทก์กระทำไปโดยสุจริตแม้ต่อมาศาลฎีกาจะพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินทั้งสี่แปลงของจำเลยก็ตามแต่การนำยึดที่ดินทั้งสี่แปลงของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่ามิได้เกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์แต่อย่างใดจำเลยย่อมมีส่วนผิดที่ก่อให้โจทก์นำยึดที่ดินจำนวน4แปลงของจำเลยอันเนื่องมาจากการที่จำเลยประวิงการบังคับคดีจำเลยจึงควรเป็นฝ่ายต้องรับผิดเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดียึดแล้วไม่มีการขายแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคหนึ่งประกอบมาตรา166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138, ตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้จำเลยยอมแพ้แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่นเมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า"ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้จริง"ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้วจำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาชั้นละ200บาทตามตาราง1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 33 (1) พระราชบัญญัติจราจรทางบก ม. 134, 160 ทวิ

ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา134วรรคหนึ่งนอกจากจะเป็นความผิดที่เกิดขึ้นจากการงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลคือไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจรแล้วยังเป็นความผิดเพราะกระทำคือการแข่งรถด้วยรถจักรยานยนต์ของกลางที่ใช้ในการแข่งรถในทางจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33(1)ศาลมีอำนาจสั่งริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 193/30, 481

การที่จำเลยนำรถยนต์มาขายให้แก่โจทก์ทั้งสองเท่ากับว่าจำเลยผู้ขายได้รับรองโดยปริยายแก่โจทก์ทั้งสองว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำมาขายเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่โจทก์ทั้งสองได้จึงเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องชำระเงินคืนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้หาใช่การฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิอันมีอายุความ3เดือนตามมาตรา481แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่การฟ้องคดีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่ตรวจชำระใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4365

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4365/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 654

ตามสัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่าผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควรโดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะให้สิทธิโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยโจทก์จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบหาได้ไม่แต่ตามคำฟ้องและการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่าโจทก์ขอขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ18และ19ต่อปีโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 15

จำเลยที่2ให้การรับสารภาพตามฟ้องและชั้นอุทธรณ์ก็อุทธรณ์เพียงขอให้รอการลงโทษการที่จำเลยที่2ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยที่2ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297แต่เป็นเพียงความผิดตามมาตรา295เท่านั้นจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 271

แม้สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจะมิได้ระบุโดยแจ้งชัดว่าห้ามจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงก็ตามแต่ก็ระบุว่าโจทก์ยอมให้จำเลยในฐานะผู้เช่าเดิมใช้ที่ดินพิพาทต่อไปได้อีกจนถึงวันที่1มีนาคม2539ซึ่งหมายความว่าให้จำเลยเป็นผู้ใช้และจะส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ในวันที่2มีนาคม2539แต่จำเลยมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีกต่อไปกลับนำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงใช้ที่ดินพิพาทแทนจำเลยเป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับภาระเพิ่มขึ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271

« »
ติดต่อเราทาง LINE