คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 156 วรรคสี่, 249 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสองมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของตนได้โดยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน15วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่งหรือยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่อีกกรณีหนึ่งเมื่อจำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังก็ต้องยื่นคำร้องเสียภายในกำหนด15วันเช่นเดียวกันเพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเหมือนกันแต่จำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่เมื่อพ้นกำหนด15วันแล้วจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตและไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองมิได้แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นในปัญหาว่าโจทก์ไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นภายใน8วันจึงหมดสิทธิคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 36
จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายให้ครบถ้วนตั้งแต่วันที่1เมษายน2536จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์คดีนี้เมื่อวันที่6มิถุนายน2536แต่ผู้ร้องเพิ่งมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยเมื่อวันที่16สิงหาคม2536ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อในงวดสุดท้ายแล้ว4เดือนเศษทั้งเป็นการบอกเลิกสัญญาภายหลังเกิดเหตุคดีนี้เป็นเวลา2เดือนเศษตามพฤติการณ์ส่อว่าหากจำเลยไม่ถูกดำเนินคดีถูกศาลสั่งริบรถจักรยานยนต์ของกลางผู้ร้องคงไม่บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยการที่ผู้ร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางมีเหตุน่าเชื่อว่ากระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยถือได้ว่าผู้รองรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 797, 826 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 225 วรรคหนึ่ง, 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์โดยธ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจเมื่อวันที่1ตุลาคม2534ให้ว.ฟ้องคดีแทนโจทก์ต่อมาวันที่13ตุลาคม2535ธ. ได้ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ครั้นวันที่9กุมภาพันธ์2536ว.ได้ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นโดยไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้เพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวดังนี้สัญญาตัวแทนที่โจทก์แต่งตั้งว. ให้ฟ้องคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจนั้นยังคงมีผลผูกพันโจทก์และว. อยู่ตามกฎหมายหาได้ระงับสิ้นไปเพราะเหตุที่ธ.ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ไม่เหตุดังกล่าวคงมีผลแต่เพียงว่าธ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์นับแต่วันที่13ตุลาคม2535เท่านั้นส่วนกิจการอันได้กระทำไปแล้วหามีผลกระทบกระเทือนถึงไม่ว. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นหาได้สิ้นผลไปก่อนวันฟ้องไม่ ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาไม่ถูกต้องไม่ตรงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นแต่ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5619 - 5620/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1608 (2), 1713
หนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกเจ้ามรดกได้ทำต่อหน้าช. ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตดุสิตซึ่งอยู่ในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตดุสิตแสดงว่าขณะนั้นผู้อำนวยการเขตดุสิตไม่ได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่แต่มีช. ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตดุสิตรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตดังนั้นช. ย่อมมีอำนาจและหน้าที่กระทำการแทนได้เพราะเป็นผู้รักษาราชการแทนซึ่งเป็นไปตามระเบียบแบบแผนและข้อบังคับในการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อผู้มีอำนาจกระทำการไม่อยู่ก็ต้องมีผู้รักษาการกระทำการแทนได้ไม่ทำให้หนังสือตัดทายาทโดยธรรมดังกล่าวเสียไป เจ้ามรดกแสดงเจตนาชัดแจ้งตัดผู้ร้องมิให้รับมรดกแล้วการที่จะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ของกองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาเจ้ามรดกประกอบด้วยเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องเป็นผู้ที่มิได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากกองมรดกเพราะถูกตัดและตามหนังสือตัดทายาทโดยธรรมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์บังคับได้ผู้ร้องจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121 - 3461/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 583, 820, 1167 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. ,
ก่อนเลิกจ้างจำเลยที่1มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งหมดไม่ต้องมาทำงานโดยจะจ่ายค่าจ้างให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่โจทก์ไม่พอใจจึงไปร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานฯต่อมาจำเลยที่1มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่โจทก์ทั้งหมดหยุดงานจึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1ไม่ใช่เป็นการนัดหยุดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2นิยามคำว่านายจ้างว่ากรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมดแต่กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1167เมื่อจำเลยที่2และที่3เลิกจ้างโจทก์โดยกระทำในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 193/7, 193/8 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 23, 229
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่19สิงหาคม2537ขอขยายระยะเวลามีกำหนด15วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้องจึงครบกำหนดเวลาที่ได้อนุญาตวันที่3กันยายน2537ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการแม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่5กันยายน2537อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตามแต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ1ตั้งแต่วันที่4กันยายน2537เมื่อขอขยายเวลาอีก15วันจึงครบกำหนดในวันที่18กันยายน2537ซึ่งเป็นวันอาทิตย์หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่19กันยายน2537ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่20กันยายน2537จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าวกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7059/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 867
กรมธรรม์ประกันภัยระบุเงื่อนไขในการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยว่าโจทก์จะบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า15วันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยนั้นเป็นเพียงข้อกำหนดให้ผู้รับประกันภัยส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยล่วงหน้าก่อนยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยไม่น้อยกว่า15วันเท่านั้นเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกกรมธรรม์ประกันภัยแก่จำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยล่วงหน้าก่อนยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยไม่น้อยกว่า15วันและจำเลยที่1ได้รับแล้วย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาประกันภัยแก่จำเลยที่1โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ม. 13 วรรคสอง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีพ.ศ. 2538
เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานีพ.ศ.2538เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบประกาศใช้ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่25กันยายน2538ดังนั้นตั้งแต่วันที่25กันยายน2538เป็นต้นไปเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงเป็นอันพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิมตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา13วรรคสองการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ กำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันที่25กันยายน2538จึงเป็นอันสิ้นผลไปในตัวเมื่อโจทก์ทั้งสองสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ในวันที่25กันยายน2538ตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีแต่สภาเทศบาลตำบลวารินชำราบพ้นสภาพไปในวันนั้นแล้วการสมัครของโจทก์ทั้งสองเป็นอันสิ้นผลไปด้วยไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบไปได้ไม่ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตามความเสียหายของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องก็หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามเช่นนั้นไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7056/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 91, 268 ประมวลรัษฎากร ม. 86/13, 90/4 (3)
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา86/13มิได้ระบุว่าจะต้องออกใบกำกับภาษีในนามของตนเองจึงจะมีความผิดดังนั้นการที่จำเลยซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนและมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้อื่นก็เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ จำเลยใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86/13,90/4(3)ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญาจึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมเพียงกระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา268 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันกระทำผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยจำเลยกับพวกร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกจำนวนถึง56ใบจำเลยให้การรับสารภาพแม้เจ้าพนักงานจะยึดใบกำกับภาษีปลอมได้จากจำเลยกับพวกในวันเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกปลอมใบกำกับภาษีทั้งหมดพร้อมกันอันจะเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 448 วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249 วรรคแรก
จำเลยที่1ถึงที่6และป. เจ้ามรดกของจำเลยที่7ได้ร่วมกันขออายัดที่ดินของโจทก์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาโดยอาศัยคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ด. ผู้จะซื้อเมื่อวันที่19ธันวาคม2532แสดงว่าโจทก์รู้เหตุละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่นั้นมาโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่11พฤษภาคม2535เกินกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์จะอ้างว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันฟ้องหาได้ไม่ ที่โจทก์อ้างว่าเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งเจ็ดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา263ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดอายุความไว้จึงต้องบังคับตามอายุความทั่วไปคืออายุความ10ปีนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์โดยชอบต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง