คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2532

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 383, 572

ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธินำรถที่ได้คืนมาออกขาย ถ้าได้เงินไม่พอชำระราคาค่าเช่าซื้อที่ยังคงเหลืออยู่ ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่จนครบและยอมเสียดอกเบี้ยในค่าเสียหายอัตราร้อยละ18 ต่อปีนั้น เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2532

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 107, 1299

ห้องแถวพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของ พ.ตั้งแต่ก่อนจำเลยที่ 2แต่งงานกับ พ.จึงตกเป็นส่วนควบกับที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ตายย.บ.และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคำขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ พ.จำเลยที่2ซึ่งเป็นภรรยาของพ.ก็ไม่คัดค้าน พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมยกที่ดินให้ ย.บ.และจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ตามคำขอรับมรดก ย.บ.และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ห้องแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนรับมรดกห้องแถวพิพาทอีกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2532

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 572, 391

ในกรณีที่มีการเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อนั้น ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อ ริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งแล้วและมีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ภายหลังจากการเลิกสัญญาตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามและถ้าทรัพย์สินที่คืนมาเสียหาย ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดนอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบ และต้องรับผิดสำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2532

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 427

จำเลยใช้ให้ ย.ขับรถยนต์ไปทำธุรกิจให้จำเลยโดยมีจำเลยนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการ และ ย.เป็นตัวแทนของจำเลยในกิจการนี้โดยปริยาย เมื่อ ย.ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่า ย.กระทำละเมิดภายในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทนจำเลยซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ ย.ได้กระทำไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 427 ประกอบด้วย มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2532

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 163 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22 (3), 94 (1), 107 (1)

พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าหนี้นำหนี้ที่ขาดอายุความแล้วมายื่นขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมมีอำนาจที่จะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2532

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 583 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

โจทก์และนาง ต. ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยได้ทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายกันในเวลาทำงาน และในบริเวณโรงงานอันเป็นสถานที่ทำการของจำเลยซึ่งมีเครื่องสุขภัณฑ์ อันเป็นสินค้าของจำเลยวางเรียงซ้อนกันอยู่ อาจทำให้เครื่องสุขภัณฑ์ เสียหายได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 10.11 และข้อ 11.3.9ก็ห้ามมิให้พนักงานทุกคนทะเลาะวิวาททำร้ายซึ่งกันและกันในสถานที่ทำการ หากฝ่าฝืนให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังนี้ จึงถือได้ว่า การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2532

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 174

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยเพียงข้อหาเดียว การที่จำเลยให้การว่า 'ขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง' ดังนี้ ไม่ชัดเจนว่าจำเลยกระทำผิดฐานใด กรณีเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดของจำเลยจึงจะลงโทษจำเลยได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 173, 177 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31

โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าบำเหน็จค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีแต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2532

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 86 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 192

จำเลยที่ 3 จัดหารถจักรยานยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ใช้ขับขี่ไล่ยิงผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 3 ยังไม่ถึงขั้นเป็นตัวการ เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้บรรยายเพื่อขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ เพราะมีโทษเบากว่าตัวการตามที่โจทก์ฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2532

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 207, 208, 209

คำร้อง ของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่า มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เพราะวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยเดินทางมาถึงศาลก่อนเวลานัดไปดูใบลอยที่หน้าศาล ปรากฏว่าไม่มีเลขคดี ชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอยดังกล่าว ทนายจำเลยไปที่ห้องเก็บสำนวนไม่พบสำนวน เจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนดูวันนัดบนปกสำนวนแล้วแจ้งว่าคดีนัดวันรุ่งขึ้น ทนายจำเลยเข้าใจว่าลงนัดในสมุดนัดผิดพลาดไปจึงเดินทางกลับ รุ่งขึ้นมาศาล ปรากฏว่ามีเลขคดีชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอย จึงไปที่บัลลังก์ ตามใบลอย ก็ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาคดีไปแล้วตั้งแต่วันวาน ดังนี้ หากความจริงเป็นไปดังที่จำเลยอ้างย่อมฟังได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่.

« »
ติดต่อเราทาง LINE