
ภาษีมูลค่าเพิ่มและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เราคงคุ้นชินกับคำว่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT พบเจอบ่อยๆได้ในแทบทุกการซื้อ ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีไปเพื่ออะไร และมีหลักการคิดอย่างไร วันนี้ Legardy จะพาทุกท่านไปรู้จักกับภาษีมูลค่าเพิ่มและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้นครับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คืออะไร?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) คือภาษีประเภทหนึ่งทีถูกเก็บจากการขายสินค้าหรือบริการใดๆก็ตามที่เข้าเงื่อนไขต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปัจจุบันนั้นประเทศไทยกำหนดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ 7% ของสินค้าหรือบริการนั้นๆ
ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีโทษทางกฎหมายอย่างไร?
ผิดตามประมวลรัษฎากร ดังนี้
1.ตามมาตรา 77/2(1) มาตรา 80/2 และมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 จากการขายสินค้าหรือให้บริการ
2.ตามมาตรา 89(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เสียค่าปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเป็นเงินหนึ่งพันบาทต่อเดือนภาษี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่ากัน
3.ตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
1.4 ต้องระวางโทษจำคุกหรือโทษปรับตามมาตรา 90/2(2) แห่งประมวลรัษฎากร
บุคคลดังต่อไปนี้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาษีมีกี่แบบและต้องจ่ายกี่บาท ร่วมหาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ ใครจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของกิจการนั้นๆ
ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นถือเป็นภาษีทางอ้อม ซึ่งผู้ประกอบการสามารถผลักภาระไปให้แก่ผู้บริโภคได้หรือสามารถรับภาระภาษีเองก็ได้ ง่ายๆคือให้ลูกค้าเป็นคนจ่าย vat หรือเลือกที่จะจ่ายเองก็ได้ แต่หากผู้ประกอบการต้องการแบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เองโดยไม่ให้ลูกค้าจ่าย ก็สามารถทำได้ โดยการคิดราคาสินค้าหรือบริการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปในราคาขาย
vat7% คิดยังไง
ราคาสินค้าหรือบริการ x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ขายอาหารราคา 107 โดยแบ่งเป็นค่าอาหาร 100 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท โดยบริษัทA ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรในทุกๆ เดือน
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องอ่าน! กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายของออนไลน์ คลิกเลย !
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีอะไรบ้าง
1.ภาษีซื้อ (vatซื้อ)
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเรียกเก็บจากกิจการเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
2.ภาษีขาย (vatขาย)
คือ ภาษีที่กิจการนั้นเรียกเก็บจากลูกค้า เมื่อมีการขายสินค้าหรือบริการนั้น
หากภาษีขาย มากกว่า ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระให้แก่กรมสรรพากร
หากภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ = สามารถขอคืนหรอขอเครดิตภาษีเพื่อนำส่วนเกินนั้นไปหักในภาษีของเดือนถัดไป
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ20)หรือการจดvat นั้นสามารถทำได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ให้ทำการยื่นจดทะเบียนภาษทีมูลค่าเพิ่มที่ สำนักงานสรรพากรในเขตที่กิจการนั้นดำเนินอยู่ แต่หากกิจการนั้นเป็นสาขา ให้ยื่นที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดvatที่ไหน?
1.ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ
2.ยื่นออนไลน์ของเว็บไซต์กรมสรรพากรโดยตรง คลิกเลย! https://vsreg.rd.go.th/jsp/MainFVATFSBT.jsp
หากยื่นด้วยกระดาษมีขั้นตอนดังนี้
1.หากกิจการของเรานั้นมีรายได้ (ไม่รวมหักค่าใช้จ่ายนับเฉพาะรายรับล้วนๆ) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รายรับเกิน เมื่อได้ใบ ภ.พ.01มาแล้ว ให้เตรียมเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
- แบบคำขอจดทะเบียนมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) จำนวน 3ฉบับ พร้อมลายเซ็นผู้มีอำนาจลงนาม
- สัญญาเช่าอาคารที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการปิดอากรแสตมป์ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นสถานประกอบการ (กรณีเจ้าของให้ใช้โดยไม่ได้ค่าตอบแทน)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
- สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า/ผู้ยินยอม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการของผู้ให้เช่าหรือผู้ยินยอม หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ให้เช่า)
- แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการที่แสดงให้เห็นบ้านเลขที่
- หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีอำนาจลงนาม
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์
เซ็นสำเนาถูกต้องอย่างไรให้ถูกกฎหมาย และไม่ถูกสวมรอยจากมิจฉาชีพ หาคำตอบได้ที่ลิงค์นี้ !
2.เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้วให้ยื่นต่อสำนักงานสรรพากร หากผ่านการตรวจสอบแล้วจะได้ใบ ภ.พ.20 กลับมา
ภ.พ.20 คือเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งผู้ที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วนั้นต้องมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้แบบ ภ.พ.30 (แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยใบ ภ.พ.20 นั้นผู้ประกอบการต้องแสดงใบดังกล่าวในที่ที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
3.หากต้องการเปลี่ยนแปลงทะเบียน ภ.พ.20
สามารถขอแบบฟอร์ม ภ.พ.09 คือคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรและดำเนินเรื่องที่สำนักงานสรรพากรของท้องที่ที่กิจการนั้นดำเนินการอยู่ได้เลยครับ
เกร็ดความรู้กับ Legardy แต่ละประเทศคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละเท่าใด
- ประเทศที่คิดภาษีมูลค่าเพิ่มมากที่สุด คือ ฮังการี คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 27% ของราคาสินค้าหรือบริการ
- ประเทศที่คิดภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยที่สุด คือ บรูไน ไม่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ค่าเฉลี่ยของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทุกประเทศทั่วโลก อยู่ที่ 15.5%
ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศเพื่อนบ้าน
- มาเลเซีย เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 6%
- เวียดนาม เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 10%
- กัมพูชา เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 10%
- ลาว เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 11%
สรุป
การจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดนะครับ ก่อนจะทำการค้าใดๆอย่าลืมที่จะขอใบกำกับภาษีเพื่อเราสามารถนำภาษีซื้อนั้นไปหักลบกับภาษีขายได้ และขั้นตอนไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด หากกรมสรรพากรตรวจเจอว่าเราเข้าเงื่อนไขที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเราไม่ได้ไปจดนั้น จะโดนค่าปรับต่างๆที่ค่อนข้างสูงมากครับ หากกำลังทุกข์ใจเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย Legardy มีทนายความพร้อมช่วยเหลือตลอด 24ชั่วโมงครับ !
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



