
หากลูกจ้างนำเงินที่นายจ้างให้ไปใช้ส่วนตัวมีความผิดทางกฎหมายอย่างไร
บทความนี้จะกล่าวถึง กรณีที่ลูกจ้าง เป็นเซลล์ขายรถยนต์ โดยลูกจ้างมีหน้าที่ขับรถยนต์ให้ลูกค้าและเก็บเงินจากลูกค้าของนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเงินค่าจองรถ ค่าดาวน์รถกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เกี่ยวกับการซื้อขายรถซึ่งลูกจ้างได้รับเงินดังกล่าวจากลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ของนายจ้าง เงินจำนวนต่างๆ ที่ลูกจ้างรับไว้จากลูกค้า เป็นการรับเงินไว้ในระหว่างที่ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างของนายจ้าง
ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ติดต่อกับลูกค้าที่มาซื้อรถยนต์จากนายจ้าง เมื่อลูกจ้างเพียงแต่รับเงินและยึดถือเงินไว้ชั่วคราวก่อนจะนำเงินส่งมอบให้แก่นายจ้างเท่านั้น อำนาจในการครอบครองควบคุมดูแลเงินดังกล่าวจึงเป็นของนายจ้าง
เมื่อลูกจ้างรับเงินจากลูกค้าของนายจ้างรวม 7 ครั้ง แล้วเอาเงินดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวถือเป็นการนำเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต
Q: โดนคนดีลักทรัพย์นายจ้างในยามวิกาลจะมีโทษอะไร
Q: มีคดีลักทรัพย์นายจ้างจะได้รอการลงโทษไหม
การกระทำของลูกจ้างจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) ซึ่งกำหนดไว้ว่า "ผู้ใดลักทรัพย์ (11) ที่เป็นของนายจ้างหรืออยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท"
สรุป ลูกจ้างรับเงินจากลูกค้าในระหว่างทำงานให้นายจ้าง แล้วลูกจ้างเอาเงินไปใช้ส่วนตัว นายจ้างจะเอาผิดกับลูกจ้างในความผิดคดีอาญา ฐานลักทรัพย์นายจ้าง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)
อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2564
ลักทรัพย์นายจ้างยอมความได้ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



