
เรื่องต้องรู้ ขอรับบริจาคเงินอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย
การบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผู้ที่เดือดร้อน หรือสัตว์ที่น่าสงสาร ล้วนเป็นเรื่องที่ดี หากผู้ที่เปิดรับบริจาคมีความประสงค์อยากช่วยเหลือจริง ๆ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ไม่ว่าใครก็สามารถสร้างสื่อเพื่อการโฆษณาได้ทุกแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้คนรับสื่อได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่อาจมาในรูปแบบผู้หวังดี อย่าลืมตรวจเช็กแหล่งที่มา ‘ขอรับบริจาคเงิน’ รวมทั้งผู้ที่เปิดรับบริจาค ก็ควรศึกษาข้อกฎหมายให้ถี่ถ้วน ไม่เช่นนั้น อาจเข้าข่ายทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการขอรับบริจาคเงิน
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขอรับบริจาคเงินโดยตรง จะเป็นข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 มาตรา 4 ที่ให้นิยามความหมายในการเปิดรับบริจาค หรือที่เรียกว่าการเรี่ยไร ไว้ว่า ‘การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการ ทั้งการแสดงโดยตรงหรือโดยปริยาย ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการทั่วไป แต่เพื่อรวบรวมทรัพย์ที่ได้รับมาทั้งหมดหรือนำบางส่วนไปใช้ในกิจการใดกิจการหนึ่ง’
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
การขอรับบริจาคเงินที่ถูกกฎหมาย
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มิจฉาชีพสามารถใช้วิธีขอรับบริจาคเงินมาเป็นหนึ่งในกลอุบาย จึงเกิดเป็นขั้นตอนการขอรับบริจาคเงินที่ถูกกฎหมาย ดังนี้
1.) ต้องได้รับการอนุญาตจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หรือที่ว่าการอำเภอ พร้อมระบุรายละเอียดทั้งหมดให้ชัดเจน
2.) ไม่สามารถเดินเรี่ยไรนอกเหนือสถานที่ที่ได้ขออนุญาตไว้
3.) ผู้ที่ขออนุญาตต้องมีอายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งไม่มีประวัติต้องโทษทางกฎหมาย
4.) พกพาใบอนุญาตตลอดการขอรับบริจาคเงิน
5.) ห้ามใช้ถ้อยคำ หรือแสดงอาการคล้ายกับขมขู่ผู้อื่น
ดูคำถามจากผู้ใช้งานจริงและคำตอบจากทนายเกี่ยวกับเรื่องบริจาคได้ที่นี่
Q: โพสขอรับบริจาคจากประชาชน มีความผิดทางกฏหมายหรือไม่
Q: โดนมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินเพื่อบริจาค
Q: โดนหลอกให้โอนเงินร่วมบริจาค
Q: โดนหลอกให้ร่วมบริจาคแล้วได้เงินปันผล แต่โดนโกง จะต้องทำยังไงแล้วมีโอกาสจะได้คืนไหมคะ
ความผิดกรณีผู้ขอรับบริจาคเงินที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
หากผู้ขอรับบริจาคเงินไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 มาตรา 4 มีฐานความผิดเพิ่มอีก 3 ข้อ ได้แก่
1.) หากการขอรับบริจาคเงินมีเจตนาฉ้อโกงผู้อื่น เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.) เข้าข่ายความผิดคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.) เข้าข่ายความผิดเรื่องการขอทานตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท
สรุปบทความ
ผู้ที่เปิดขอรับบริจาคเงิน ถือเป็นคนหนึ่งหรือคนกลุ่มหนึ่งที่เสียสละ เพียงเพื่อต้องการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่อยากขอความร่วมมือให้พกพาใบอนุญาตการเปิดขอรับบริจาคเงินทุกครั้ง เพื่อไม่ให้มิจฉาชีพใช้ช่องโหว่นี้ในการกระทำความผิด สำหรับใครที่ถูกหลอกให้บริจาคทรัพย์ หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



