เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-18

สารพรรณปัญหาลูกหนี้เสียชีวิต

โดยปกติแล้วถ้าเป็นหนี้แล้วเสียชีวิต ทายาทผู้รับมรดกของผู้นั้นย่อมต้องรับไปซึ่งความรับผิดในการชำระหนี้ของลูกหนี้เจ้ามรดกด้วย แต่หากลูกหนี้ที่เสียชีวิตไม่มีมรดกเจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัวของทายาทครับ ท่านสามารถอ่านวิธีการจัดการได้ใขทความข้างล่างนี้และรวมถึงลูกหนี้ที่ไม่มีทายาทด้วยครับ

การให้กู้ยืมเงินนั้นมีความเสี่ยงมากมายที่จะทำให้เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้คืนจากลูกหนี้ เช่น ความเสี่ยงจากสภาพเศษฐกิจ ความเสี่ยงจากลักษณะนิสัยส่วนตัวของลูกหนี้ และอีกความเสี่ยงที่พบเจอได้บ่อยไม่แพ้กันเลยคือความเสี่ยงจากการที่ลูกหนี้เสียชีวิต แต่กฏหมายก็ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่เสียชีวิตไปแล้วไว้ด้วย ซึ่งในบทความนี้มีคำตอบครับว่าสำหรับเจ้าหนี้ที่ลูกหนี้เสียชีวิตไปแล้วเจ้าหนี้ต้องทำอย่างไรต่อไป

Your Blog Title

man-saving-money-energy-crisis.jpg

กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต

ก่อนอื่นผมขอท้าวความไปถึงผลทางกฏหมายจะเกิดขึ้นภายหลังจากบุคคลได้เสียชีวิตไปแล้วก่อนครับ โดยเมื่อบุคคลเสียชีวิตไปแล้วมรดกของผู้นั้นย่อมตกแก่ทายาททันทีโดยผลของกฏหมาย ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชน์มาตรา 1599

คำว่ามรดกหมายถึง ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายเสียชีวิตเว้นแต่เป็นสิทธิที่เป็นสิทธิเฉพาะตัว ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ดังนั้นเมื่อความรับผิดในการชำระหนี้ตามสัญญาไม่ใช่ความรับผิดที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวแต่เป็นความรับผิดในทางทรัพย์สิน

หนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ สามารถสิ้นสุดลงตามกฎหมาย ด้วย 5 เหตุผลดังนี้ คลิกที่นี่เพื่ออ่าน !


วิธีทวงหนี้จากลูกหนี้ที่เสียชีวิตแล้ว

ลูกหนี้เสียชีวิตแล้วทวงหนี้จากใคร ?? 

หากลูกหนี้เสียชีวิต ความรับผิดในการชำระหนี้จะตกเป็นภาระของทายาทผู้รับมรดกของลูกหนี้นั้น อย่างไรก็ตาม หากลูกหนี้ที่เสียชีวิตไม่มีทรัพย์สินมรดกตกทอด เจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัวของทายาท

ท้วงจากทายาทของลูกหนี้

ซึ่งคำวาทายาทคือผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย โดยกฏหมายได้ให้นิยามไว้ในประมวลกฏหมายพ่งและพาณิชย์มาตรา 1603 อันอาจแบ่งได้ 2 ประเภทได้แก่

2 ประเภทของทายาท

2.1 ทายาทโดยธรรม คือ

ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้เสียชีวิตโดยผลของกฏหมายตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชน์ มาตรา 1629 มีด้วยกัน 6 ลำดับได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามาร พี่น้องร่วบิดาหรือมารดา ปู่หย่าตายาย และสุดท้ายคือลุงป้าน้าอา

2.2 ทายาทตามพินัยกรรม คือ 

ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามความประสงค์ส่วนตัวของเจ้ามรดกที่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งทายาทผู้รับพินัยกรรมนี้เป็นใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทธรรมตาม ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชน์ มาตรา 1629

โดยการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ทายาทของลูกหนี้ผู้ตายชำระหนี้นั้น เจ้าหนี้จะเรียกให้ทายาทรับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกตกทอดที่ตกแก่ทายาทคนนั้นซึ่งเป็นไปตาม ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601, 1734

เอาหล่ะ! เมื่อเราปูพื้นฐานกันเรียบร้อยแล้ว เราลองมาดูกันดีกว่าครับกรณีลูกหนี้เสียชีวิตเจ้าหนี้ต้องทำอย่างไร

ตามกฎหมายแล้ว สามารถชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่เงินด้วยนะ อ่านเพิ่มเติมที่นี่ !


piggybank-oqkmdriPiHM-unsplash.jpg
Photo by PiggyBank on Unsplash

ลูกหนี้ตายเจ้าหนี้ต้องทำอย่างไร

1 กรณีลูกหนี้ตายในขณะที่ยังไม่มีการฟ้องคดี

เมื่อลูกหนี้เสียชีวิตแล้วทรัพย์มรดกย่อมตกแก่ทายาทของลูกหนี้ทันที่ที่ลูกหนี้เสียชีวิต ดังนั้นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะทวงถามให้ผู้เป็นทายาทชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ หากมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ผู้ตายแล้ว เจ้าหนี้ก็สามารถเรียกร้องให้ผู้จัดการมรดกชำระหนี้ที่ลูกหนี้ผู้ตายค้างชำระอยู่ได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1737 ดังนั้นคำถามที่ว่า ลูกหนี้เสียชีวิตฟ้องได้ไหม ก็ต้องตอบว่าหากไม่มีการชำระหนี้จากทายาทหรือผู้จัดการมรดกตามที่เจ้าหนี้ทวงถามแล้ว แม้ลูกหนี้เสียชีวิตแล้วเจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้โดยการฟ้องทายาท หรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ที่เสียชีวิตนั่นเอง

ซึ่งในชั้นนี้หากเจ้าหนี้ต้องการให้ทายาทรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่รับมาด้วย เจ้าหนี้ก็ต้องดำเนินการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากลูกหนี้ผู้ตายมาเป็นตัวของทายาทเองโดยตรงก็จะทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินส่วนตัวของทายาทได้ด้วย และเป็นหลักประกันที่จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนได้อีกชั้นหนึ่ง

2 ลูกหนี้ตายภายหลังจากมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว

เมื่อลูกหนี้ผู้เป็นเจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่ความในคดีเสียชีวิต ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 กำหนดให้ศาลเรียก ทายาท ผู้จัดการมรดก ผู้ปกครองทรัพย์มรดกเข้ามาแก้คดีแทนลูกหนี้ และเมื่อทายาทต้องรับผิดชำหนี้ของลูกหนี้ที่เป็นเจ้ามรดกด้วย ดังนั้นเมื่อศาลมีคำพิากษาให้ชำระหนี้แล้ว บรรดาทายาทที่ได้รับมรดกทั้งหลายก็ต้องรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ไม่เกินทรัพย์มรดกที่รับมาครับ

3 ลูกหนี้เสียชีวิตในชั้นบังคับคดีภายหลังจากศาลพิพากษาให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว

การบังคับคดีลูกหนี้ที่เสียชีวิต เจ้าหนี้สามารถบังคดีแก่ทายาทของลูกหนี้ที่เสียชีวิตได้โดยอาศัยหลักทั่วไปตาม ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 , 1600 , 1601 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะดำเนินการยึดทรัพย์สินอายัดสิทธิเรียกร้องที่เป็นมรดกของลูกหนี้มาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต่อไปครับ

 

towfiqu-barbhuiya-05XcCfTOzN4-unsplash.jpg
Photo by Towfiqu barbhuiya on Unsplash

ทำอย่างไรหากลูกหนี้เสียชีวิตไม่มีทายาท

ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีทายาท กฏหมายวางหลักไว้ว่าทรัพย์มรดกย่อมตกแก่แผ่นดิน ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1753 ดังนั้นหากไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้วเจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้โดยอาศัยสิทธิตามกฏหมายเลย แต่เมื่อเจ้าหนี้ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของลูกหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองมรดกนั้น เจ้าหนี้จึงมีสิทธิร้องของต่อศาลโดยอาศัยสิทธิตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลตั้งเจ้าหนี้เป็นผู้จัดการมรดกและเมื่อศาลตั้งเจ้าหนี้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว เจ้าหนี้ก็มีอำนาจดำเนินการจัดการกองมรดกโดยนำทรัพย์มรดกมาชำระหนี้ให้แก่ตนเองต่อไป

ลูกหนี้เสียชีวิต ผู้ค้ำประกันต้องทำอย่างไร

ในส่วนของผู้ค้ำประกันนั้นเมื่อผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ความรับผิดต้องชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 และความตายของลูกหนี้ไม่ทำให้หนี้ของลูกหนี้ระงับไปตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สัญญาค้ำประกันจึงยังมีผลใช้บังคับระหว่างเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันอยู่ ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 698 ผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เต็มจำนวนแทนลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ และเมื่อผู้ค้ำประกันชำระแทนลูกหนี้ผู้ตายไปแล้วผู้ค้ำประกันย่อมเกิดสิทธิไล่เบี้ยเอากับทายาทของลูกหนี้ได้ไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทของลูกหนี้ได้รับมาครับ


สรุป

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้หวังว่าจะเป็นแนวทางแก้ปัญญาเบื้องต้นให้กับหลายคนที่กำลังประสบปัญญาหาที่กล่าวมาอยู่ครับ แต่หากมีข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเฉพาะแตกต่างออกไปก็ควรจะปรึกษาทนายความโดยตรงเพื่อที่จะได้มีการสอบข้อเท็จจริงและปรับเข้ากับหลักกฏหมายที่อาจจะแตกต่างออกไปได้ในแต่ละกรณีครับ หากต้องการปรึกษากฎหมายเรื่องมรดก สามารถปรึกษาทนายผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE