Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 698 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 698 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 698” คืออะไร? 


“มาตรา 698” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 698 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 698” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 698 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12711/2558
หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน หรือยังมีหนี้ประธานที่ผู้ให้กู้ยังไม่ได้รับชำระหนี้ การที่โจทก์ฟ้อง บ. ให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม แล้วทั้งสองฝ่ายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันจนศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมทำให้หนี้ประธานคือหนี้กู้ยืมระงับ เกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อหนี้กู้ยืมระงับ จึงไม่มีหนี้ที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 698, ม. 852


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4568/2558
ตามสัญญารับดำเนินการข้อ 2.1 และ 2.2 มีใจความโดยสรุปว่า จำเลยที่ 1 จะเร่งรัดดำเนินการเก็บเงินที่ลูกหนี้ของโจทก์ค้างชำระโดยใช้ใบเสร็จรับเงินของโจทก์เป็นหลักฐานในการรับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ หลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทุกสัปดาห์ หากจำเลยที่ 1 ยึดหน่วงเงินไว้ไม่ส่งมอบภายในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาทุจริต นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 2.3 ยังระบุว่า หากจำเลยที่ 1 สามารถติดตามเร่งรัดหนี้สินและส่งมอบเงินให้แก่โจทก์ทั้งสิ้น 2,841,051 บาท โจทก์จะโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อลูกหนี้ของโจทก์ 1,529,796 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการตอบแทนไม่มีข้อความในสัญญาตอนใดกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ในกรณีไม่สามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ได้ แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่ามุ่งประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่เร่งรัดติดตามหนี้สินให้แก่โจทก์เพียงอย่างเดียวรวมทั้งมีหน้าที่ส่งมอบเงินที่เรียกเก็บให้แก่โจทก์ทุกสัปดาห์ มิฉะนั้นจำเลยที่ 1 ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 มอบเงินที่เก็บได้ให้แก่โจทก์แล้ว แต่ยังไม่สามารถเก็บเงินได้อีก 1,099,529.55 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ส่งผลให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 369, ม. 698


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15363/2557
กรณีหนี้จำนองมีจำนวนน้อยกว่าหนี้ประธาน หากเอาทรัพย์จำนองหลุดและทรัพย์สินนั้นมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ หรือถ้าเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ เงินยังขาดอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาดนั้น แต่ในส่วนที่เกินกว่าวงเงินจำนอง ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ประธานต่อเจ้าหนี้จนครบจำนวนต่อไป ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 5 กับโจทก์ จำเลยที่ 5 ตกลงจำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากร 593,750 บาท จากหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งเป็นหนี้ประธาน 1,255,291.40 บาท โดยไม่มีข้อตกลงยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ถ้านำที่ดินของจำเลยที่ 5 ขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่า 593,750 บาท เงินยังขาดจากจำนวน 593,750 บาท อยู่เท่าใด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดในส่วนของจำนวนเงินตามสัญญาจำนองที่ยังขาดอยู่ แต่หากนำที่ดินของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิมากกว่า 593,750 บาท เงินส่วนที่เกินจากจำนวน 593,750 บาท โจทก์ต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 5 เนื่องจากเกินวงเงินจำนองที่จำเลยที่ 5 มีเจตนาทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 สำหรับจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ในส่วนที่เกินจำนวน 593,750 บาท ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินซึ่งเป็นหนี้ประธานนั้น จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ค่าภาษีอากรค้างส่วนที่เกินจากวงเงินจำนองจนครบถ้วนต่อไป ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นความรับผิดต่างหากจากสัญญาจำนองในหนี้ค่าภาษีอากรที่เกินจากวงเงินจำนองจนครบถ้วนต่อไปด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 698, ม. 733
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที