1.ถูกเลิกจ้าง ต้องได้รับเงินชดเชยเท่าไร.png
เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-30

ถูกเลิกจ้าง ต้องได้รับเงินชดเชยเท่าไร?

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานกรณีถูกเลิกจ้าง โดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิด และไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า จะได้รับค่าชดเชยตามอัตราอายุงานจากฐานเงินเดือนสุดท้าย ดังนี้ 1.) ระยะเวลาทำงาน 120 วัน ไม่ถึง 1 ปี ได้รับ 30 วัน 2.) ระยะเวลาทำงาน 1 ปี ไม่ถึง 3 ปี ได้รับ 90 วัน 3.) ระยะเวลาทำงาน 3 ปี ไม่ถึง 6 ปี ได้รับ 180 วัน 4.) ระยะเวลาทำงาน 6 ปี ไม่ถึง 10 ปี ได้รับ 240 วัน 5.) ระยะเวลาทำงาน 10 ปีขึ้นไป ได้รับ 300 วัน 6.) ระยะเวลาทำงาน 20 ปีขึ้นไป ได้รับ 400 วัน

'อ่านกฎหมายเกี่ยวกับค่าชดเชยของการถูกเลิกจ้าง คลิก'

ถูกเลิกจ้าง ควรทำอย่างไรต่อ

หากถูกเลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม นอกจากจะได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างตามอัตราที่ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้แล้ว ให้ไปแจ้งรับเงินชดเชยกรณีว่างงานเพิ่มเติมได้ที่ประกันสังคม ในอัตรา 50% จากฐานสูงสุดของเงินสมทบ คือ 7,500 บาท/เดือน เป็นจำนวน 180 วันภายในปีนั้น ๆ

'คลิกเพื่ออ่าน คำปรึกษาจริงเกี่ยวกับกรณีถูกเลิกจ้าง พร้อมคำตอบจากทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน'


เงื่อนไขการเลิกจ้างที่พนักงานต้องได้รับเงินชดเชย

1. เงื่อนไขที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงาน.png

พนักงานที่ถูกเลิกจ้างและได้รับค่าชดเชย ต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้ 1.) ไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ 2.) ไม่ได้รับการแจ้งล่วงหน้าจากนายจ้าง จะได้รับค่าชดเชยตามอัตราที่กล่าวไปข้างต้น และยังได้รับค่าตกใจเพิ่มในกรณีถูกไล่ออกโดยที่นายจ้างไม่ได้แจ้งล่วงหน้า 30-60 วัน อีกจำนวนหนึ่ง เป็นเงินสูงสุดไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

 


เงื่อนไขที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงาน 

เพียงเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งจากทั้ง 3 เงื่อนไขดังต่อไปนี้ นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงาน ถือว่ากฎหมายก็ให้ความเป็นธรรมกับฝ่ายนายจ้างเช่นกัน

1. กรณีปรับปรุงหน่วยงานหรือเปลี่ยนแปลงกิจการ ซึ่งต้องลดจำนวนพนักงาน

เงื่อนไข คือ ต้องแจ้งเลิกจ้างพนักงานให้รับทราบอย่างน้อย 60 วัน ถ้าเกินกว่านั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นจำนวน 60 วัน โดยอิงจากอัตราค่าจ้างสุดท้าย

2. กรณีย้ายสถานที่ทำงาน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของลูกจ้าง

เงื่อนไข คือ ต้องแจ้งเลิกจ้างพนักงานให้รับทราบก่อนอย่างน้อย 30 วัน  ถ้าเกินกว่านั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นจำนวน 30 วัน โดยอิงจากอัตราค่าจ้างสุดท้าย

3. กรณีความผิด ที่ลูกจ้างไม่ได้รับเงินชดเชย

เงื่อนไข คือ ลูกจ้างกระทำความผิด เช่น ไม่มาทำงานโดยไม่แจ้งสาเหตุเป็นเวลา 3 วัน ,ทุจริต ,กระทำความผิดตามกฎหมายอาญา ,รับโทษจำคุก ,จงใจสร้างความเสียหายต่อบริษัท หรือได้รับการตักเตือนด้วยวาจา และจดหมายเตือน แต่ไม่ปรับปรุงตัว นอกจากนี้ยังรวมไปถึงในกรณีลูกจ้างสมัครใจลาออกด้วยตัวเอง หรือครบกำหนดตามสัญญาจ้างงาน

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !


สรุปบทความ 

1.สรุปบทความ.png

บนโลกใบนี้ความแน่นอนคือ ความไม่แน่นอน นอกจากจะเตรียมแผนสำรองอย่างรายได้ทางที่สองแล้ว หากเกิดเหตุไม่คาดคิดอย่างถูกเลิกจ้างกะทันหัน อย่าลืมใช้สิทธิ์ทางกฎหมายรับเงินค่าชดเชยตามอัตราที่พึงได้รับ โดยเฉพาะยื่นว่างงานที่ประกันสังคม จะได้รับความคุ้มครองแบบสองต่อ และสำหรับฝ่ายนายจ้างอย่าเพิ่งกังวลไป เพียงแจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างอย่างสมเหตุสมผลตามเงื่อนไขของกฎหมาย และแจ้งเลิกจ้างพนักงานภายในระยะเวลาที่กำหนด กฎหมายก็จะช่วยคุ้มครองทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างอย่างเป็นธรรม หรือหากต้องการคำปรึกษาด้านกฎหมาย สามารถขอคำแนะนำปรึกษาทนาย ออนไลน์ กว่า 500 คนทั่วประเทศ พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE