เผยแพร่เมื่อ: 2023-10-31

เริ่มจากการแจ้งเกิด 👶

การ"แจ้งเกิด"และสถานที่แจ้ง

- เด็กที่เกิดในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล

- เด็กที่เกิดนอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่สำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เช่น เขตกรมทหาร เป็นต้น

'หลังจากแจ้งเกิดแล้วควรจดหนังสือรับรองบุตร การทำหนังสือรับรองบุตรมีขั้นตอนอย่างไรหาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย!'

 

เวลาที่ควรแจ้งเกิด

ต้องแจ้งชื่อของเด็กพร้อมแจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด

 

เอกสารที่ต้องนำไปทำเรื่องแจ้งเกิดกรณี "เกิดในบ้าน"

ผู้แจ้ง และหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง กรณีเกิดในบ้าน ผู้แจ้งคือ เจ้าบ้าน หรือบิดาหรือมารดา

- บัตรประจำตัวประชาชนของมารดาเด็ก

- สำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของมารดาเด็ก

- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมาย

'เซ็นสำเนาอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย อ่านคำตอบจากทนายความได้ที่นี่'

 

เอกสารที่ต้องนำไปทำเรื่องแจ้งเกิดกรณี "เกิดที่โรงพยาบาล"

ผู้แจ้งคือ บิดาหรือมารดา หรือโรงพยาบาลที่ทำการตกลงกับสำนักงานเขตว่าจะเป็นผู้แจ้งให้ทราบ

- บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาเด็ก และของผู้แจ้ง (กรณีที่บิดามารดาไม่สามารถไปแจ้งได้ด้วยตนเอง)

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะนำเด็กย้ายเข้า

- หนังสือรับรองการเกิดของผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ (โรงพยาบาล)

'หากต้องการย้ายทะเบียนบ้าน สามารถทำได้ตามขั้นตอนที่ลิงค์นี้เลย คลิก!'

 

กรณีการแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่อื่น

ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดยังมิได้แจ้งการเกิด และคนซึ่งเกิดนั้นมีภูมิลำเนาปัจจุบันอยู่ต่างท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่เกิด มารดา ผู้ปกครอง

โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวแล้วแต่กรณีจะแจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บิดามารดา 

หรือผู้ปกครองของคนซึ่งเกิดนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก็ได้โดยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการเกิดของคนซึ่งจะแจ้งการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่คนเกิด และพยานบุคคลไม้น้อยกว่าสองซึ่งสามารถยืนยันความเป็นบิดาหรือมารดาของคนดังกล่าวได้ 

ในกรณีไม่มีหนังสือรับรองการเกิดผู้แจ้งการเกิดอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรมที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อเป็นหลักฐานพิสูจน์ความเป็นบิดามารดาและบุตรแทนได้

'ความชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด? ที่นี่มีคำตอบ อ่านเลย'

 

ข้อควรระวัง ถ้าไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย

เมื่อสูติบัตรหายไม่สามารถขอออกใหม่ได้ แต่สามารถขอคัดถ่ายจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร พร้อมให้เจ้าหน้าที่ทะเบียนรับรองได้ ณ สำนักงานทะเบียนราษฎรทั่วประเทศ

 

แล้วสำหรับการแจ้งตายหละ 😇

การ"แจ้งตาย"และสถานที่แจ้ง

- คนตายในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล

- คนตายนอกเขตเทศบาลให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่สำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เช่น เขตกรมทหาร เป็นต้น

'กำลังทุกข์ใจเรื่องเอกสารใช่หรือไม่ ทนายความของLegardyพร้อมช่วยคุณเสมอ! ปรึกษาเลย ปัญหาจะหมดไป คลิก!'

 

เวลาที่ควรแจ้งตาย

ต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาที่พบศพ

 

เอกสารที่ต้องนำไปทำเรื่องแจ้งเกิดกรณี "ตายในบ้าน หรือ โรงพยาบาล"

*กรณีคนตายในบ้านและโรงพยาบาล ผู้แจ้งคือเจ้าบ้าน หรือผู้พบศพ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน

- บัตรประจำประชาชนของผู้แจ้ง และของผู้ตาย (ถ้ามี)

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่

- หนังสือรับรองการตายที่โรงพยาบาลออกให้

'เซ็นสำเนาอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย อ่านคำตอบจากทนายความได้ที่นี่'

 

เอกสารที่ต้องนำไปทำเรื่องแจ้งเกิดกรณี "ตายนอกบ้าน"

กรณีคน"ตายนอกบ้าน" ผู้แจ้งคือ ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ โดยแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี 

หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้

- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือของผู้ตายซึ่งเป็นผู้แจ้ง และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย (ถ้ามี)

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ตาย (ถ้ามี)

'ปลอมบัตรประชาชน" มีโทษร้ายแรงแค่ไหน? คลิกเพื่ออ่าน'

 

กรณีการแจ้งตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่อื่น

- ผู้มีหน้าที่แจ้งตายยังมิได้แจ้งการตายแต่มีการย้ายศพไปอยู่ต่างท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีการตายหรือพบศพ, เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย, ผู้พบศพ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี จะแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้นรับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่พบศพ หรือท้องที่ที่มีการจัดการศพโดยการเผา ฝัง หรือทำลายก็ได้

โดยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการตายของผู้ตายซึ่งออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่บุคคลนั้นตาย และพยานบุคคลไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลของผู้ตายได้ ในกรณีไม่มีหนังสือรับรองการตาย ผู้แจ้งการตายอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรมที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการแจ้งแทนได้

ข้อควรระวัง ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ถ้าไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย

'รู้หรือไม่? เราไม่สามารถถอนเงินจากบัญชีคนตายและโอนที่ดินจากคนตายได้ เพราะอะไร บทความนี้มีคำตอบ'

 

ทนาย ภาณุพงศ์ ศุกรนันทน์


 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE