เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-26

ความเป็นมาของกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานทำให้แท้งลูก

มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 สรุปได้ว่า

หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำแท้งได้

เนื่องจากเดิมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีโทษจำคุกและปรับ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 สาระสำคัญให้ “หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำแท้งได้”

เจตนารมณ์ในการแก้กฎหมายการทำแท้ง

กฎหมายเดิมขัดหรือแย้งต่อมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญ

เจตนารมณ์ในการแก้กฎหมายการทำแท้ง เกิดจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 โดยวินิจฉัยว่า เบทบัญญัติความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญ

การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิง

เนื่องจากความผิดอาญามาตราดังกล่าวกำหนดให้ลงโทษทางอาญาแก่ผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียวที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองแท้งลูก โดยไม่ได้พิจารณาถึงการคุ้มครองสิทธิของหญิงที่ตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม ยังเป็นการจำกัดสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของหญิง

หญิงควรจะมีสิทธิตัดสินใจว่าจะยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ ประกอบกับรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานให้บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพโดยจัดให้มีมาตรการในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมายไม่กระทบต่อสิทธิของหญิงตั้งครรภ์

การคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์

กำหนดอายุครรภ์และเหตุยกเว้นในการทำแท้งเพื่อคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์

เพื่อคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์ไม่ให้ถูกกระทบสิทธิในการมีชีวิตด้วย จึงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานทำให้แท้งลูก โดยกำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 รวมทั้งเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูกมาตรา 305ให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (อ้างอิงตามหมายเหตุท้าย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564)

อ่านคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความผู้เชี่ยวชาญเรื่อง "การทำแท้ง"

Q: น้องขอเงินไปทำแท้ง พ่อแม่เขาจะฟ้องเรา

Q: ถูกกล่าวหาว่าท้องแล้วทำแท้งกับผู้ชายอีกคน

Q: สอบถามเกี่ยวกับการทำแท้งค่ะ

Q: แฟนเราไปทำคนอื่นท้อง แฟนบอกว่าถ้าไม่เซ็นรับรองบุตร ผู้หญิงคนนั้นจะทำแท้ง


1.png

ความผิดฐานทำให้แท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301

หญิงทำแท้งเมื่อมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน6เดือน หรือปรับไม่เกิน10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 กำหนดไว้ว่า “หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ โดยไม่มีความผิดฐานทำให้แท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 นี้ แต่หากหญิงมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ไปทำแท้งลูก ถือว่ามีความผิดความผิดฐานทำให้แท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน5ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 ถ้าการทำแท้งนั้นเป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตราย

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการทำแท้งนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”

เจาะลึกเรื่อง "การทำแท้ง" อ่านเพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้น !

 

 

ถ้าการทำแท้งโดยฝ่ายหญิงยินยอม

ในกรณีที่ฝ่ายชายหรือบุคคลใด ทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ไม่ว่าหญิงมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ หรือไม่เกิน 12 สัปดาห์ บุคคลนั้นมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ความผิดฐานทำให้แท้งลูก โดยหญิงไม่ยินยอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 303

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 303 กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการทำให้แท้งโดยไม่ยินยอมนั้นเป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตราย

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการทำแท้งโดยไม่ยินยอมนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท”

ยกตัวอย่างเช่น ปรเมศบอกให้อรนลินทำแท้ง แต่อรนลินไม่ยอม ปรเมศจึงได้ชกไปที่หน้าท้องอรนลินหลายครั้งจนทำให้อรนลินแท้งลูก กรณีนี้ ปรเมศมีความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 303 วรรคแรก

 

3.png

ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 304

ผู้พยายามทำแท้งตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 วรรคแรก ไม่ต้องรับโทษ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 304 กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

คำว่า “แท้งลูก” จะต้องเป็นกรณีที่กระทำให้ลูกในครรภ์ของผู้ถูกทำร้ายคลอดออกมาในลักษณะที่ลูกนั้นไม่มีชีวิต ตามแนวคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2510 ผู้เสียหายฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(5)

 ผู้พยายามทำแท้งแต่ไม่สำเร็จ ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 304

ยกตัวอย่าง นางสาวลินตั้งครรภ์ โดยมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ได้กินยาขับเลือดเพื่อทำให้ตนเองแท้งลูก วันรุ่งขึ้นทารกคลอดออกมามีชีวิตอยู่ไม่นานแล้วเสียชีวิตลง กรณีนี้ นางสาวลินมีความผิดฐานพยายามทำให้ตนเองแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และมาตรา 80 นางลินจึงไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 304

 

หากทำแท้งโดยหมอผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305

การทำแท้งโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาไม่มีความผิด

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 กำหนดไว้ว่า “ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด

แต่มีข้อยกเว้นในการทำแท้ง ดังนี้

  1. จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น
  2. จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
  3. หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ
  4. หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์
  5. หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น”

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 การทำแท้งโดยหมอผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีความผิด โดยหมอสามารถทำแท้งให้แก่หญิงได้โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องอายุครรภ์ ตามมาตรา 305 (1) ถึง (3) ส่วน มาตรา 305 (4) หมอจะทำแท้งให้หญิงที่ยืนยันยุติการตั้งครรภ์ โดยหญิงมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และมาตรา 305(5) หมอสามารถทำแท้งให้หญิงที่มีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ต้องไม่เกิน 20 สัปดาห์

หมอทำแท้งให้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ถือว่าไม่มีความผิด

ยกตัวอย่าง นางลินตั้งครรภ์มีอายุครรภ์ 19 สัปดาห์ (จึงไม่เกิน 20 สัปดาห์) ได้ไปพบหมอผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา 305(5) แล้ว นางลินยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ หมอจึงทำแท้งให้นางลิน กรณีนี้ หมอที่ทำแท้งให้นางลินจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305(5)


หากมีข้อสงสัยทางด้านกฎหมาย อย่ารอช้าที่จะปรึกษาทนาย สามารถปรึกษาผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือคลิกที่ลิงค์นี้ได้เลย !

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE