Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 303 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 303 หรือ มาตรา 303 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 303 ” หรือ “มาตรา 303 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
              ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 303” หรือ “มาตรา 303 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2545
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาผู้เสียหายขึ้นรถกระบะจากบ้านพักผู้เสียหายไปให้หญิงไม่ทราบชื่อกับพวกอีก 2 คน ทำให้ผู้เสียหายแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม ซึ่งในระหว่างการทำแท้งนั้น จำเลยที่ 1 นั่งขวางประตูบ้านอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดในการที่ผู้อื่นทำแท้งผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86ซึ่งแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 303 โดยมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 302ก็ตาม ศาลก็ย่อมลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้าย เพราะการทำให้หญิงแท้งลูกไม่ว่าหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็เป็นความผิดทั้งนั้น หากแต่กำหนดโทษจะหนักเบาต่างกัน


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2545
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้หญิงคนหนึ่งไม่ทราบชื่อทำให้นางสาว ป. ผู้เสียหายแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 83 , 84 , 303 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายไปหาจำเลยที่ 1 ที่บ้านและถูกจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเรา หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายไปตรวจร่างกายที่สถานีอนามัยจึงทราบว่าผู้เสียหายตั้งครรภ์ ต่อมาจำเลยทั้งสามมาหาผู้เสียหายที่บ้านโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถ จำเลยที่ 2 เป็นมารดาจำเลยที่ 1 แล้วพาผู้เสียหายไปหาผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อทำแท้ง ระหว่างทางจำเลยที่ 3 ลงจากรถไปก่อน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายเข้าไปทำแท้งในบ้านหลังหนึ่งโดยผู้เสียหายยินยอมให้ทำแท้งลูก ระหว่างการทำแท้งจำเลยที่ 1 นั่งขวางประตูบ้านอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดในการที่ผู้อื่นทำแท้งผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตามมาตรา 302 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86 แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรานี้ ศาลก็ย่อมลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เพราะการทำให้แท้งลูกไม่ว่าหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเป็นความผิดทั้งนั้น หากแต่กำหนดโทษหนักเบาต่างกัน


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2498
ในเรื่องความผิดฐานกรรโชก โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยไม่ใช่ตำรวจแต่อ้างว่าเป็นตำรวจใช้วาจาขู่เข็ญว่าไม่ให้เงินจะมีเรื่องเป็นการขู่เข็ญขืนใจให้มีความกลัวตาม ม. 303 ดังนี้เป็นฟ้องที่ สมบูรณ์

ข้อเท็จจริงที่ได้ความว่าจำเลยไม่ใช่ตำรวจแต่อ้างว่าเป็นตำรวจขู่เข็ญผู้เสียหายให้+ส่งเงินให้ถ้าไม่ให้จะมีเรื่อง และผู้เสียหายได้+ส่งเงินให้โดยจำเลยไม่มีอำนาจทำได้ตาม ก.ม.ดังนี้เป็นข้อเท็จจริงที่เข้าเกณฑ์ความผิดฐานกรรโชก
แม้โจทก์จะแถลงว่าติดใจสืบพยานเพียงเท่านี้ เมื่อจำเลยอ้างตัวเองเบิกความเป็นพยาน โจทก์ก็ชอบที่จำนำคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่โจทก์ไม่ติดใจสืบยื่นเป็นพยานต่อศาลเพื่อพิสูจน์คำให้การของจำเลยได้ เมื่อศาลเห็นว่ามีมูลก็มีอำนาจรับไว้วินิจฉัย
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท