Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 85 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 85 หรือ มาตรา 85 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 85 ” หรือ “มาตรา 85 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด และความผิดนั้นมีกำหนดโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือน ผู้นั้นต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
              ถ้าได้มีการกระทำความผิดเพราะเหตุที่ได้มีการโฆษณาหรือประกาศตามความในวรรคแรก ผู้โฆษณาหรือประกาศต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ
ถ้าผู้ถูกใช้ตามมาตรา ๘๔ หรือผู้กระทำตามคำโฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดตามมาตรา ๘๕ ได้ให้ข้อมูลสำคัญอันเป็นการเปิดเผยถึงการกระทำความผิดของผู้ใช้ให้กระทำความผิดหรือผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินคดีแก่บุคคลดังกล่าว ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 85” หรือ “มาตรา 85 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8117/2554
การที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางติดตัวมานั้นเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่สั่งซื้อไว้ แม้จำเลยที่ 2 จะถูกจับกุมเสียก่อน แต่ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.อ. มาตรา 84 มิใช่ตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การสั่งซื้อของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2528
แม้ล.กับป.พยานโจทก์จะมีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน กับจำเลยแต่เมื่อโจทก์ได้กันส.กับป.ไว้เป็นพยานคำเบิกความของ พยานทั้งสองปากดังกล่าวอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้แต่มี น้ำหนักน้อยมิใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เสียเลยทีเดียวถ้าโจทก์มีพยานอื่น ประกอบก็รับฟังลงโทษจำเลยได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2496,1769/2509 และ 2001/2514) จำเลยได้ใช้ให้ ส.ฆ่าว. ผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยได้มอบ อาวุธปืนของกลางให้ ส.นำไปหาโอกาสยิงว.ผู้ตายแม้ส.ยังมิได้กระทำผิด เพราะไม่มีโอกาสฆ่าผู้ตายการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบกับมาตรา 85วรรคสอง จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบด้วยมาตรา84 วรรคสองซึ่งต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสาม ของโทษที่กำหนดไว้นั้นให้ลดโทษประหารชีวิตหนึ่งในสามเป็นจำคุก ตลอดชีวิตตามมาตรา 52(1) และให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นโทษสองในสามของโทษประหารชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 53 ซึ่งต้องลงโทษเพียงหนึ่งในสาม ของโทษประหารชีวิตคือกึ่งหนึ่งของโทษจำคุก50 ปี จึงเป็นโทษ จำคุก 25 ปี (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 91/2510 ประชุมใหญ่)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2523
การที่ศาลได้รับคำฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานหรือต้องวินิจฉัยว่าฟ้องมีมูลหรือไม่เสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ชอบที่จะงดการไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องได้

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโฆษณาหรือประกาศให้บุคคลอื่นประทุษร้ายต่อชีวิตโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85และมีคำขอท้ายฟ้องโดยอ้างมาตรา 288 มาด้วย ต้องถือว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 288 เพราะตามมาตรา 85 นั้น เมื่อจะใช้ก็ต้องโยงไปประกอบมาตรา 288 ด้วย ดังนั้น เมื่อเหตุในคดีนี้เกิดขึ้นระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก และความผิดตามมาตรา 288 อยู่ในอำนาจของศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา
เมื่อคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมมีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งอันถือว่าเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวประกาศหรือคำสั่งนั้นก็ยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท