Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 361 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 361 หรือ มาตรา 361 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 361 ” หรือ “มาตรา 361 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ความผิดตามมาตรา ๓๕๘ และมาตรา ๓๕๙ เป็นความผิดอันยอมความได้ “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 361” หรือ “มาตรา 361 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7789/2538
คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วม ระบุว่าขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันได้แล้ว ไม่ได้ระบุว่าขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์คดีนี้ เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้อีกไม่ได้เพราะการเข้าร่วมเป็นโจทก์ถือว่าเป็นการฟ้องคดีใหม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงาน-อัยการผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้ และที่พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วยนั้น จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ไม่ได้แล้วโจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2518
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 126 วรรค 1 บัญญัติให้ไว้แก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ และสิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องทุกข์ในคดีดังกล่าวตาย มารดาผู้ร้องทุกข์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์นั้นได้ แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 206/2488)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358ซึ่งมาตรา 361 บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2518
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 126 วรรค 1 บัญญัติให้ไว้แก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ และสิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตก ทอดแก่ทายาท ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องทุกข์ในคดีดังกล่าวตาย มารดาผู้ร้องทุกข์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์นั้นได้แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 206/2488)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งมาตรา 361 บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งในจำหน่ายคดี
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท