Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 999 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 999 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 999” คืออะไร? 


“มาตรา 999” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 999 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคำว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ท่านว่าบุคคลนั้นไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่า และไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 999” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 999 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2525
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 และขีดฆ่าคำว่า 'หรือผู้ถือ' ออกแล้วขีดคร่อมและเขียนข้อความว่า 'PAYEEONLY' ซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกับ 'เปลี่ยนมือไม่ได้' หรือ'ห้ามเปลี่ยนมือ' เช็คดังกล่าวจึงเป็นเช็คที่จะต้องนำเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 เท่านั้น จะเปลี่ยนมือไม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้รับเงินจะอ้างว่าเป็นผู้ทรงโดยการรับเช็คดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 904, ม. 917 วรรคสอง, ม. 994, ม. 999


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2523
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป สั่งจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือ ย่อมเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาขายลดเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวให้โจทก์ โดยได้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับโอนให้โจทก์และโจทก์ได้ชำระเงินค่าขายลดเช็คให้จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 904, ม. 917, ม. 994 วรรคหนึ่ง, ม. 999
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที