Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 995 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 995 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 995” คืออะไร? 


“มาตรา 995” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 995 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ (๑) เช็คไม่มีขีดคร่อม ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนใดคนหนึ่งจะขีดคร่อมเสียก็ได้ และจะทำเป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้
              (๒) เช็คขีดคร่อมทั่วไป ผู้ทรงจะทำให้เป็นขีดคร่อมเฉพาะเสียก็ได้
              (๓) เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี ผู้ทรงจะเติมคำลงว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ก็ได้
              (๔) เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารใด ธนาคารนั้นจะซ้ำขีดคร่อมเฉพาะให้ไปแก่ธนาคารอื่นเพื่อเรียกเก็บเงินก็ได้
              (๕) เช็คไม่มีขีดคร่อมก็ดี เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ส่งไปยังธนาคารใดเพื่อให้เรียกเก็บเงิน ธนาคารนั้นจะลงขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนเองก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 995” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 995 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2547
การที่จำเลยที่ 1 นำเช็คซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และเป็นเช็คมีข้อความระหว่างเส้นขีดคร่อมว่า A/C PAYEE ONLY ไปเข้าบัญชีบริษัท ภ. เป็นการกระทำตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ภ. เจ้าหนี้โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการกระทำในขอบอำนาจของกรรมการโจทก์ มีผลผูกพันโจทก์ นอกจากนี้โจทก์และบริษัท ภ. ต่างก็มีกรรมการชุดเดียวกันรวม 5 คน หากกรรมการอื่นอีก 4 คน เห็นว่าจำเลยร่วมนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีบริษัท ภ. เป็นการไม่ถูกต้อง ก็ย่อมสามารถใช้สิทธิในฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ภ. สั่งให้โอนเงินตามเช็คพิพาทคืนให้แก่โจทก์ได้อยู่แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วมจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 70, ม. 994, ม. 995, ม. 1000


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2540
โจทก์บรรยายฟ้องว่าท. ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะสั่งจ่ายเงินฉบับละ2,000,000บาทระบุชื่อให้แก่โจทก์ที่1และโจทก์ที่2ตามลำดับโดยขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ"โดยห้ามเปลี่ยนมือทั้งสองฉบับพ. บิดาของโจทก์ทั้งสองรับเช็คดังกล่าวไว้แล้วนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของพ.ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ได้นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีพ. โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้เพราะเช็คดังกล่าวทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเงินตามเช็คและเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีเฉพาะของโจทก์ทั้งสองหากโจทก์ทั้งสองยังไม่มีบัญชีกับธนาคารจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ต้องปิดบัญชีให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อจะได้นำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งสองอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีของธนาคารพาณิชย์การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายการกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่1จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยที่1ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่1ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์มีมูลหนี้มาจากการละเมิดอันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ1ปีก็ตามแต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่1ไม่มีสิทธิอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1000เพื่อยกเว้นความรับผิดทั้งเป็นการเรียกเอาทรัพย์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้คืนตามมาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความดังนี้จะนำอายุความเรื่องละเมิด1ปีมาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์พ.บิดาในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองในขณะนั้นย่อมมีอำนาจจัดการแทนโจทก์ทั้งสองได้ก็ตามแต่เมื่อเงินได้ตามเช็คพิพาทเป็นเงินได้ที่ต้องนำบัญชีส่วนตัวของโจทก์ทั้งสองเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ชอบที่จะจัดการนำเช็คดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีโจทก์ทั้งสองและในทางปฏิบัติหากโจทก์ทั้งสองไม่มีบัญชีในธนาคารจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ย่อมดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้โจทก์ทั้งสองได้เมื่อความเป็นผู้เยาว์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเปิดบัญชีใหม่แต่ประการใดดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1นำเช็คขีดคร่อมของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีส่วนตัวของพ. แล้วเป็นเหตุให้พ. ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปได้นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อจำเลยที่1ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 448, ม. 995, ม. 1000, ม. 1336
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2534
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3โดยมิได้มีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คโจทก์จึงเป็นผู้รับโอนเช็คจากจำเลยที่ 3มาไว้ในครอบครองโดยชอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดย มี ข้อตกลงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องสอนการผลิตหินอ่อนเทียมให้จำเลย ที่ 1 ที่ 2 แล้วจำเลยที่ 3 ผิดข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญาหรือมีส่วนรู้เห็นแต่อย่างใดจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนยกขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้ทรงเพื่อไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900, ม. 904, ม. 916, ม. 995 (2)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที