Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 992 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 992 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 992” คืออะไร? 


“มาตรา 992” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 992 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ หน้าที่และอำนาจของธนาคารซึ่งจะใช้เงินตามเช็คอันเบิกแก่ตนนั้น ท่านว่าเป็นอันสุดสิ้นไปเมื่อกรณีเป็นดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
              (๑) มีคำบอกห้ามการใช้เงิน
              (๒) รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย
              (๓) รู้ว่าศาลได้มีคำสั่งรักษาทรัพย์ชั่วคราว หรือคำสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลายหรือได้มีประกาศโฆษณาคำสั่งเช่นนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 992” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 992 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2557
บริษัท ด. ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ 30 กันยายน 2548 ให้แก่จำเลยเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าที่ค้างชำระ แม้จำเลยจะมีสิทธิรับเช็คดังกล่าวและมีสิทธิที่จะเรียกเก็บเงินตามเช็คจากโจทก์ซึ่งเป็นธนาคารเจ้าของเช็คนั้นได้เมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดชำระก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท ด. ในวันที่ 11 สิงหาคม 2548 อันเป็นวันก่อนที่เช็คนั้นถึงกำหนดชำระ เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่ห้ามลูกหนี้ชำระหนี้ มาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 ที่ให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ ย่อมหมายความว่า เช็คพิพาทที่ลูกหนี้ออกชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าถึงกำหนดชำระภายหลัง ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ธนาคารตามเช็คต้องงดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าว ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 992 (3) ดังนี้ จำเลยชอบที่จะนำเช็คพิพาทไปยื่นเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ใช่นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่จำเลยไปจึงเป็นการจ่ายโดยผิดหลง การจ่ายเงินตามเช็คของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่ห้ามโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้ ถือเป็นการจ่ายเงินตามเช็คโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับไปจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยต้องคืนเงินจำนวน 542,397.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 406, ม. 992 (3)
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 90/12 (9), ม. 90/26, ม. 90/27


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2542
เช็คพิพาทเป็นแคชเชียร์เช็คที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย หาใช่ผู้เคยค้าสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาเบิกเงิน จากธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ จำเลยที่ 1 จะยกเอาข้อต่อสู้ ที่ว่าจำเลยที่ 2 มีคำบอกกล่าวว่าเช็คพิพาทถูกชิงทรัพย์ ไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991(3),992(1) มายกเว้นความรับผิดของตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คหาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 991 (3), ม. 992 (1)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 65, ม. 66, ม. 420, ม. 425, ม. 991, ม. 992
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 142, ม. 148, ม. 246, ม. 247
ป.วิ.อ. ม. 40, ม. 43, ม. 44, ม. 47
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที