Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 99 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 99 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 99” คืออะไร? 


“มาตรา 99” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 99 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่จะมีมติในเรื่องใด ถ้าส่วนได้เสียของกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมผู้ใดขัดกับประโยชน์ได้เสียของสมาคม กรรมการหรือสมาชิกของสมาคมผู้นั้นจะออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้นไม่ได้  “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 99” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 99 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี 2525เป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 เดิม เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯ และไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ดังนั้น สามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 มาตรา 1468 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อน หากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล โจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1475
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ม. 7
ป.พ.พ. ม. 99 (เดิม), ม. 1468 (เดิม), ม. 1469 (เดิม), ม. 1474, ม. 1475 (เดิม)
ป.วิ.พ. ม. 56


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2535
แม้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานจะมีความเห็นว่าลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารต่าง ๆ กับลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของคนเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงท้ากันให้ถือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นข้อแพ้ชนะความคิดเห็นตามหลักวิชาของพยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานที่ศาลรับฟัง แต่มิใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไร ศาลต้องฟังตามนั้นเสมอไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 99, ม. 130


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2534
คำว่า "ทรัพย์" ตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายความรวมถึงสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ ตามมาตรา 350 แล้ว.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 350
ป.พ.พ. ม. 98, ม. 99
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที