Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 977 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 977 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 977” คืออะไร? 


“มาตรา 977” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 977 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าคู่ฉีกสองฉบับหรือกว่านั้นในสำรับหนึ่งได้เปลี่ยนมือไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายต่างคนกันไซร้ ในระหว่างผู้ทรงเหล่านั้นด้วยกัน คนใดได้เป็นสิทธิก่อน ท่านให้ถือว่าคนนั้นเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งตั๋วเงินนั้น แต่ความใด ๆ ในบทมาตรานี้ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลผู้ทำการโดยชอบด้วยกฎหมายรับรองหรือใช้เงินไปตามคู่ฉีกฉบับซึ่งเขายื่นแก่ตนก่อน “

 


1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 977” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 977 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2497
เช็คที่ไม่ปรากฏว่ามีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่น ถ้าธนาคารใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากการประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่าย เช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็คต้องลงวันที่ ที่ออกเช็ค แต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 991,992 ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 991, ม. 992, ม. 987, ม. 988 (6), ม. 977 วรรคสาม, ม. 1007
ป.วิ.พ. ม. 84
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที