Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 973 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 973 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


“มาตรา 973 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 973” คืออะไร? 
“มาตรา 973” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 973 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือ
              (๑) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือในระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังได้เห็น
              (๒) กำหนดเวลาสำหรับทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงิน
              (๓) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน ในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”

 


              ท่านว่าผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่เหล่าผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้รับรอง
              อนึ่ง ถ้าไม่ยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองภายในเวลาจำกัดดังผู้สั่งจ่ายได้กำหนดไว้ ท่านว่าผู้ทรงย่อมเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยทั้งเพื่อการที่เขาไม่ใช้เงิน และเพื่อการที่เขาไม่รับรอง เว้นแต่จะปรากฏจากข้อกำหนดว่า ผู้สั่งจ่ายหมายเพียงแต่จะปลดตนเองให้พ้นจากประกันการรับรอง
              ถ้าข้อกำหนดจำกัดเวลายื่นตั๋วแลกเงินนั้นมีอยู่ที่คำสลักหลัง ท่านว่าเฉพาะแต่ผู้สลักหลังเท่านั้นจะอาจเอาประโยชน์ในข้อกำหนดนั้นได้ “


1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 973” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 973 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกตั๋วแลกเงินแล้วนำไปขายลดตั๋วเงินไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับโจทก์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงดังกล่าวเรียกตามสัญญาขายลดตั๋วเงินนั่นเอง ทั้งท้ายฟ้องของโจทก์ยังได้แนบสำเนาสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินของจำเลยทั้งสองไว้อีกด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องบังคับฐานผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามตั๋ว แลกเงิน จึงนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 963 และ 973มาใช้บังคับไม่ได้ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวการไม่ใช้เงินไปยังจำเลยที่ 2 ภายใน 4 วันก่อน โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามอัตราที่ตกลงไว้ จำเลยที่ 2 จะให้บังคับในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 968(2) ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 369, ม. 963, ม. 968, ม. 973, ม. 1002
ป.วิ.พ. ม. 172
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที