Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 969 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 969 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 969” คืออะไร? 


“มาตรา 969” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 969 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ คู่สัญญาฝ่ายซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน อาจจะเรียกเอาเงินใช้จากคู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดต่อตนได้ คือ
              (๑) เงินเต็มจำนวนซึ่งตนได้ใช้ไป
              (๒) ดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้น คิดอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไป
              (๓) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันตนต้องออกไป
              (๔) ค่าชักส่วนลดจากต้นเงินจำนวนในตั๋วแลกเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๖๘ อนุมาตรา (๔) “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 969” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 969 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2537
การที่โจทก์ได้รับเช็คของ อ. ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่ 2จำนวน 37 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้และโจทก์ได้ทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า "ข้าพเจ้าในนามบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทย จำกัด ได้รับเช็คจำนวน 37 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,875,557 บาท เพื่อชำระหนี้ต้นเงินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.วิศวกรรมการสร้าง สำหรับดอกเบี้ยทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.วิศวกรรมการสร้างจะนำมาชำระให้ภายหลังโดยขอเวลาเจรจาอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง" นั้น เมื่อโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ว่าจะนำเช็ค 37 ฉบับไปหักต้นเงินเท่านั้นโจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็ค37 ฉบับไปชำระดอกเบี้ยแต่อย่างใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 329, ม. 367, ม. 969


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2521
กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาสืบเพื่อรับรองความถูกต้องของคำแปล เมื่อจำเลยเห็นว่าคำแปลตอนไหนไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรจำเลยก็ชอบที่จะโต้แย้งหรือแสดงคำแปลที่ถูกต้องได้

การที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเมื่อจำเลยผู้จ่ายซึ่งได้รับรองตั๋วแลกเงินแล้วไม่ยอมจ่ายเงินนั้น ได้เข้าถือเอาตั๋วแลกเงินโดยผู้รับเงินและตัวแทนสละตั๋วแลกเงินนั้นให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 970 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินตามตั๋วแลกเงินและดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้นคิดอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 969
เมื่อหนี้ตามตั๋วแลกเงินมีกำหนดระยะเวลาชำระแน่นอนอยู่แล้วโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 46
ป.พ.พ. ม. 204, ม. 900, ม. 908, ม. 914, ม. 925, ม. 937, ม. 969, ม. 970
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที