Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 96 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 96 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 96” คืออะไร? 


“มาตรา 96” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 96 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การประชุมใหญ่ของสมาคมต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดองค์ประชุมไว้เป็นอย่างอื่น
              ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้และการประชุมใหญ่นั้นได้เรียกตามคำร้องขอของสมาชิก ก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่สมาชิกมิได้เป็นผู้ร้องขอ ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจำต้องครบองค์ประชุม  “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 96” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 96 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม มาตรา 28(2) แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา87 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนดให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดก็ยังหาได้มีการโอนโฉนดใส่ชื่อมูลนิธิไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 2 (4), ม. 28 (2)
ป.พ.พ. ม. 87, ม. 90, ม. 91, ม. 96


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28 (2) แห่ง ป.วิ.อ. แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ป.พ.พ. มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรา 87 แพ่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนด ให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนด ก็ยังหาได้มีการโอนโฉนด ใส่ชื่อมูลนิธิไม่
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 2 (4), ม. 28 (2)
ป.พ.พ. ม. 87, ม. 90, ม. 91, ม. 96
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที