“มาตรา 959 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 959” คืออะไร?
“มาตรา 959” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 959 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้ คือ
ก) ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน
ข) ไล่เบี้ยได้แม้ทั้งตั๋วเงินยังไม่ถึงกำหนดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) ถ้าเขาบอกปัดไม่รับรองตั๋วเงิน
(๒) ถ้าผู้จ่ายหากจะได้รับรองหรือไม่ก็ตาม ตกเป็นคนล้มละลาย หรือได้งดเว้นการใช้หนี้ แม้การงดเว้นใช้หนี้นั้นจะมิได้มีคำพิพากษาเป็นหลักฐานก็ตาม หรือถ้าผู้จ่ายถูกยึดทรัพย์และการยึดทรัพย์นั้นไร้ผล
(๓) ถ้าผู้สั่งจ่ายตั๋วเงินชนิดไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใดรับรองนั้นตกเป็นคนล้มละลาย “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 959” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 959 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2539
การที่จำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระค่าหน้าดินตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาและไม่มีสิทธิระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทแม้ต่อมาโจทก์จะบอกเลิกสัญญาก็ตามจำเลยก็ยังคงต้องชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ จำเลยที่2เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา914ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 914, ม. 959
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2533
แม้หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ระบุโดยตรงว่าห้างโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีแทน แต่ในตอนต้นของหนังสือมอบอำนาจระบุว่า ข้าพเจ้านาย ป. และมีข้อความต่อมาว่า ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันห้างโจทก์-------------------------------------และในช่องผู้มอบอำนาจ นอกจากนาย ป. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์จะได้ลงลายมือชื่อแล้วยังได้ประทับตราของห้างโจทก์อีกด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเป็นหนี้โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่ 1เข้าสลักหลังเช็คพิพาทย่อมก่อให้เกิดมูลหนี้ในเช็คอยู่ในตัว.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 60
ป.พ.พ. ม. 914, ม. 959
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอซีเปยี่โอนลี่"(A/CPAYERONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 บัญญัติไว้ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนเช็คพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย เอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 306, ม. 904, ม. 917, ม. 959 (ก), ม. 989