Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 949 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 949 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 949” คืออะไร? 


“มาตรา 949” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 949 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๙ บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 949” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 949 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2514
แม้จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในขณะที่เช็คอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คนั้นได้มีการลงวันออกเช็คไว้แล้ว จะโดยผู้ใดเป็นผู้ลงไว้ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อไม่ได้ความว่าวันออกเช็คที่ลงไว้เป็นวันที่ไม่ถูกต้องแท้จริงและลงไว้โดยไม่สุจริต ก็ถือได้ว่าเป็นเช็คที่มีรายการครบถ้วนและออกเช็คไว้แล้วจะโดยผู้ใดเป็นผู้ลงไว้ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อไม่ได้ความว่าวันออกเช็คที่ลงไว้เป็นวันที่ไม่ถูกต้องแท้จริงและลงไว้โดยไม่สุจริต ก็ถือได้ว่าเป็นเช็คที่มีรายการครบถ้วนและเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 และ 989
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม. 3
ป.พ.พ. ม. 910, ม. 949


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2496
ผู้มีเงินฝากในธนาคารได้สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินในบัญชีของตนโดยออกเช็ค กรอกจำนวนเงินลงไปจำนวนหนึ่งภายหลังปรากฎว่าเช็คฉะบับนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินที่สั่งจ่ายให้มากขึ้น ดดยผู้สั่งจ่ายไม่ทราบและธนาคารได้จ่ายเงินไปตามเช็คที่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ขนั้นแล้ว ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฎว่าผู้สั่งจ่ายเช็คได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็คนั้นอย่างไรแล้ว ธนาคารจะเรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ปลอมแปลงนั้นหาได้ไม่ จะเรียกได้แต่เฉพาะจำนวนเงินเดิมแห่งเช็คนั้นเท่านั้น เพราะอาจอนุโลมกถือได้ว่าสิทธิของธนาคารต่อผู้เคยค้าที่สั่งจ่ายเป็นเสมือนผู้ทรง ต่อผู้ต้องรับผิดตามตั่วเงินนั้น./
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 910, ม. 949, ม. 1007, ม. 1009
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที