Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 948 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 948 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 948” คืออะไร? 


“มาตรา 948” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 948 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่ายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อน ๆ ซึ่งมิได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 948” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 948 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2509
จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยที่ 3 เป็นผู้สลักหลัง เมื่อเช็คถึงกำหนดและโจทก์นำไปเข้าบัญชี แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 จำเลยที่3 จึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มิได้มีฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 และ 948 มาบังคับไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 700, ม. 948, ม. 967


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2501
ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปยอมผ่อนเวลาการจ่ายเงินให้แก่ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยมิได้ตกลงกับผู้สั่งจ่ายเสียก่อน ผู้ทรงตั๋วนั้นย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย และผู้สั่งจ่ายก็พ้นจากความรับผิดอย่างใดๆ ตามกฎหมายต่อผู้ทรง
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ถ้าผู้สั่งจ่ายยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่ผู้ทรง ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเพราะขณะนั้นไม่มีหนี้อะไรเหลืออยู่แล้วแม้หนี้เดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1005 ก็ไม่ต้องรับผิด หนังสือรับสภาพหนี้นั้นจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 948, ม. 1005, ม. 119


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2501
ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปยอมผ่อนเวลาการจ่ายเงินให้แก่ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยมิได้ตกลงกับผู้สั่งจ่ายเสียก่อน ผู้ทรงตั๋วนั้นย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย และผู้สั่งจ่ายก็พ้นจากความรับผิดอย่างใด ๆ ตามกฎหมายต่อผู้ทรง

ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ถ้าผู้สั่งจ่ายยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่ผู้ทรง ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เพราะขณะนั้นไม่มีหนี้อะไรเหลืออยู่แล้วแม้หนี้เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1005 ก็ไม่ต้องรับผิด หนังสือรับสภาพหนี้นั้นจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 119
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 948, ม. 1005, ม. 119
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที