Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 944 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 944 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 944” คืออะไร? 


“มาตรา 944” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 944 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันตั๋วแลกเงินซึ่งให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นนั้น ท่านว่าย่อมจะพึงใช้เงินในวันเมื่อยื่นตั๋ว ทั้งนี้ต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลา ซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 944” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 944 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6292/2555
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทถึงกำหนดเมื่อทวงถามมิใช่ถึงกำหนดเมื่อได้เห็น ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้ โดยหาจำต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลยเพื่อให้จำเลยชำระเงินก่อนไม่
ตามตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความระบุไว้ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี แสดงว่าไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่เบี้ยปรับ เฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 16 ต่อปี สูงเกินส่วน ศาลจะลดไปจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 379, ม. 913 (3), ม. 944, ม. 985


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913(3) เท่านั้น ไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 161(เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน 2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001 จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 161 เดิม, ม. 913, ม. 944, ม. 985, ม. 1001
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913 (3) เท่านั้น ไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001
จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 161 (เดิม), ม. 913, ม. 944, ม. 985, ม. 1001
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที