“มาตรา 932 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 932” คืออะไร?
“มาตรา 932” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 932 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในเมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป ตัวการชอบที่จะเรียกให้เวนคืนหนังสือมอบอำนาจอย่างใด ๆ อันได้ให้ไว้แก่ตัวแทนนั้นได้
ตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ก็ดี หรือตั๋วเงินฉบับใดสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่ได้เห็น แต่หากคำรับรองตั๋วนั้นมิได้ลงวันไว้ก็ดี ตั๋วแลกเงินเช่นว่ามานี้ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋วหรือวันรับรองลงตามที่แท้จริงก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้น
อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิด และในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตั๋วเงินจะเสียไปเพราะเหตุนั้นก็หาไม่ ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้ และพึงใช้เงินกันเสมือนดังว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 932” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 932 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2550
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ค่าจ้างให้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปชำระหนี้ค่าจ้างดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดในมูลหนี้ที่แตกต่างกัน แต่ข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุรากฐานแห่งหนี้ที่โจทก์ฟ้องเกิดจากการกระทำอันเดียวกัน คือจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์และค้างชำระหนี้ค่าจ้างอันเดียวกันจำเลยทั้งสามจึงมีส่วนได้เสียร่วมกันตามกฎหมาย อันถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายและโจทก์เป็นผู้ลงวันที่ในเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับภายหลังโจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับมาแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 3 สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองตามที่สมควรเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้นั้นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับโดยชอบตามกฎหมายย่อมลงวันที่ใดก็ได้ เมื่อตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับปรากฏว่า โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คเป็นวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และตามใบคืนเช็คปรากฏว่า ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันสั่งจ่ายคือวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 932, ม. 1002
ป.วิ.พ. ม. 59
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2545
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาด้วยมูลหนี้ใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะพึงนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ไม่เป็นเหตุให้คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนโดยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ หรือสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่ ป. หัวหน้าวงแชร์เพื่อมอบแก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ ซึ่งถือว่าเช็คพิพาทนั้นมีมูลหนี้ต่อกันแล้วเมื่อโจทก์ได้เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือไว้ในครอบครองไม่ว่าจะเป็นโดย ป. ส่งมอบให้เพื่อชำระค่าแชร์ หรือโจทก์รับมาจากจำเลยโดยตรงก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 การที่ต่อมานายวงแชร์หนีและแชร์วงนี้ล้ม โจทก์ย่อมหมดโอกาสที่จะประมูลแชร์ได้ต่อไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ที่ต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ได้ทันทีเมื่อวงแชร์ล้ม ดังนั้น ตั้งแต่วันที่แชร์วงนี้ล้ม โจทก์ชอบที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทและนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เพราะโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คพิพาทถือว่าเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989
การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงกันระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์จึงหาใช่มีมูลหนี้ที่ขัดต่อกฎหมายไม่ ส่วนการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้นมีการรับเงินและผู้กู้ยืมเงินตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการประมูลจ่ายผลตอบแทนดังเช่นการเล่นแชร์ ทั้งการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนก็เป็นกรณีที่กำหนดดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ตอบแทนไว้แน่นอน ซึ่งอาจมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ เมื่อการเล่นแชร์วงนี้เป็นการประมูลผลประโยชน์ที่จะให้แก่สมาชิกลูกวงแชร์ด้วยกันที่มีจำนวนมากหรือน้อยตามความต้องการของผู้ประมูลจึงไม่อยู่ในข่ายเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ทั้งในทางนำสืบของจำเลยก็รับว่าเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ก็จะสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่ ป. นายวงแชร์ซึ่งมิใช่นิติบุคคลการเล่นแชร์วงนี้จึงหาขัดต่อพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 904, ม. 914, ม. 932, ม. 989
ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ม. 5
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527