Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 93 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 93 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 32” คืออะไร? 


“มาตรา 93” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 93 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ คณะกรรมการของสมาคมต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญอย่างน้อยปีละครั้ง “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 93” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 93 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2559
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เมื่อจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทดังกล่าวจริง ในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืม และจำเลยยังมิได้ชำระหนี้คืนแก่โจทก์ผู้ให้กู้ เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์นั้นเพื่อชำระหนี้เงินยืม ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองตามที่เห็นสมควร เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คจากจำเลยเพื่อชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทภายหลังถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายกระทำการโดยสุจริต จดวันที่สั่งจ่ายที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง กรณีหาเป็นการปลอมเช็คดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไม่

โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย หาได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมไม่ การวินิจฉัยความรับผิดของจำเลย จึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. เรื่อง ตั๋วเงิน โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินมาแสดง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 84
ป.พ.พ. ม. 93 วรรคหนึ่ง, ม. 910 วรรคท้าย, ม. 989


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2535
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอนาถา ผู้คัดค้านตั้งมาประมาณ 6 ปี มีทรัพย์สินประมาณ20 ล้านบาท เคยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการกุศลต่าง ๆ รวมทั้งสร้างอาคารเรียนแต่ผู้คัดค้านทำบัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีเพียงปีเดียวแล้วไม่เคยทำอีกเลย และอ้างว่าได้ดำเนินการโดยสุจริตตลอดมา เห็นว่า บัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีของผู้คัดค้านเป็นวิธีการหนึ่งหรือมาตรการหนึ่งที่จะตรวจสอบถึงการดำเนินการและรายได้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายและตราสารในการตั้งมูลนิธิหรือไม่ เมื่อผู้คัดค้านมิได้กระทำเช่นนี้แล้วจะตรวจสอบและทราบได้อย่างไร ดังนั้นการกระทำและพฤติการณ์การหารายได้ของผู้คัดค้านที่ทำการเรี่ยไรโดยขายดอกไม้และภาพถ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 จึงเป็นการหาทรัพย์สินโดยนอกเหนือจากบทบัญญัติ ข้อ 6 ในหมวด 3และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ ข้อ 45 ของตราสารของผู้คัดค้าน กรณีต้องด้วยมาตรา 93 (3)แห่ง ป.พ.พ. เดิม ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เลิกมูลนิธิผู้คัดค้านได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 93 (3)
พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2532
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการปกครองท้องที่ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 97 ดำรงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนมีอำนาจอนุญาตให้มูลนิธิที่ได้รับอนุญาตแล้วจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตลอดจนมีอำนาจออกกฎกระทรวงและดูแลมูลนิธิทั้งหลายให้ปฏิบัติตามกฎหมายและตราสารจัดตั้งมูลนิธินั้น ๆ แต่หาได้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับมูลนิธิไม่ จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 93 ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิ การที่มูลนิธิผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกันกับพวกทำหนังสือกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และทรงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการอาจเอื้อมไม่บังควรอย่างยิ่งและเป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องยุคลบาท น่าจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันอาจจะมีผลทำให้ประชาชนที่รู้ข้อความในหนังสือดังกล่าวเดินขบวนในแง่ไม่เห็นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งพนักงานอัยการชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เลิกมูลนิธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93(1)สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติโดยเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอำนาจของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 14 จึงย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้แก่สมาคมหรือองค์กร ใดซึ่งรวมถึงมูลนิธิด้วยได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 93 (1), ม. 97
ป.วิ.พ. ม. 55
พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 ม. 14
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที