Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 919 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 919 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 919” คืออะไร? 


“มาตรา 919” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 919 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง
              การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจำต่อก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย” “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 919” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 919 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2538
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังลอยตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง9ฉบับจำเลยจึงมีความผูกพันร่วมกับบริษัทจ.ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง9ฉบับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา919,967และ985 โจทก์แจ้งการรับโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามหนี้จากจำเลยเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2530จำเลยได้รับการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามเมื่อวันที่26พฤศจิกายน2530กรณีเช่นนี้ถือว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยมีผลตามกฎหมายเมื่อวันที่26พฤศจิกายน2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินเพราะก่อนหน้านั้นจำเลยยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีเท่านั้นเมื่อจำเลยทราบแล้วเพิกเฉยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต้องเริ่มนับแต่วันที่26พฤศจิกายน2530โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่23ธันวาคม2530ยังไม่เกิน1ปีนับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 306, ม. 919, ม. 967, ม. 985, ม. 1002


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2538
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังลอยตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 9ฉบับ จำเลยจึงมีความผูกพันร่วมกับบริษัท จ. ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 9 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 919, 967 และ 985
โจทก์แจ้งการรับโอนสิทธิเรียกร้อง และทวงถามหนี้จากจำเลยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 จำเลยได้รับการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 กรณีเช่นนี้ถือว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยมีผลตามกฎหมายเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เพราะก่อนหน้านั้นจำเลยยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีเท่านั้น เมื่อจำเลยทราบแล้วเพิกเฉยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 306, ม. 919, ม. 967, ม. 985, ม. 1002


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2537
เช็คระบุชื่อ ช.เป็นผู้รับเงินแม้ช. จะได้ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คแต่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับเช็คจากลูกจ้างของโจทก์ทั้งโจทก์ฎีกาว่าโจทก์รับเช็คดังกล่าวในฐานะผู้รับเงินมิใช่ในฐานะผู้รับสลักหลัง เพราะยาที่ขายเป็นของโจทก์ไม่ใช่ของ ช. ดังนี้โจทก์ไม่สามารถแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็ค โจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลย จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 904, ม. 919
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที