Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 917 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 917 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 917” คืออะไร? 


“มาตรา 917” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 917 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ
              เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ดังนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ
              อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋วนั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายอื่นใดแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีกได้ “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตั๋วแลกเงิน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตั๋วแลกเงิน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 917” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 917 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10653/2553
เช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน แม้ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" แต่ได้มีการขีดคร่อมพร้อมกับมีข้อความว่า "A/C PAYEE only" ในช่องขีดคร่อม อันมีความหมายว่าเช็คนี้ห้ามเปลี่ยนมือและต้องจ่ายเงินแก่ธนาคาร กล่าวคือต้องนำเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่มีแก่ธนาคารเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำเช็คไปเข้าบัญชี จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจรับเช็คดังกล่าวฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ซึ่งเปิดไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 2 โดยพนักงานของจำเลยที่ 2 นำเช็คฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ซึ่งเปิดไว้กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 917 วรรคสอง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญาจักรหรือไม่ ตามบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า มูลคดี หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทระบุชื่อ อ. เป็นผู้รับเงินเพื่อคืนเงินที่ อ. ได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับจำเลยจำนวน 140,000 บาท ให้แก่ อ. เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดวันสั่งจ่าย อ. นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะถือว่า อ. เป็นผู้เสียหายในขณะที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า อ. ได้โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสลักหลังเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงและมีสิทธิเช่นเดียวกับ อ. ในอันที่จะบังคับเอาแก่จำเลยซึ่งมีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ได้ ความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นเมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 917, ม. 920, ม. 967 วรรคสาม, ม. 989 วรรคแรก
ป.วิ.พ. ม. 4 (1)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2538
การที่จะวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003 หรือไม่นั้น จะต้องได้ความว่าได้มีการโอนเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 ประกอบด้วยมาตรา 309เสียก่อน กล่าวคือ ได้มีการสลักหลังและส่งมอบเช็คแล้วในกรณีเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน หรือได้มีการส่งมอบเช็คแล้วสำหรับกรณีเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือเป็นต้น เช็คพิพาทโจทก์มอบให้แก่ธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค มิใช่เพื่อชำระหนี้ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คแล้วจึงรับเช็คคืนมา โจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็ค มิใช่อยู่ในฐานะเป็นผู้สลักหลังเช็ค ประเด็นข้อโต้เถียงในคดียังไม่เป็นที่ยุติว่า โจทก์ได้สลักหลังโอนเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ หรือเพียงแต่มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารเพื่อค้ำประกัน ตนเมื่อข้อเท็จจริงในคดียังไม่พอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกา ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วพิพากษาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003และศาลอุทธรณ์ฟังว่าคดีโจทก์ต้องด้วยมาตรา 1002ไม่ขาดอายุความนั้น เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกัน สมควรให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป แล้วมีคำพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240(3),243(3)(ข) ประกอบด้วยมาตรา 247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 309, ม. 904, ม. 917, ม. 1002, ม. 1003
ป.วิ.พ. ม. 24, ม. 86, ม. 240, ม. 243 (3) (ข), ม. 247
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที