Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 914 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 914 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 914” คืออะไร? 


“มาตรา 914” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 914 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นำยื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 914” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 914 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2562
เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าเช็คพิพาทมีมูลหนี้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง แม้ว่าจำเลยจะลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900, ม. 914, ม. 916


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2562
เช็คพิพาททั้งสามฉบับจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมีชื่อโจทก์หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาททั้งสามฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง โจทก์เป็นผู้มีเช็คพิพาททั้งสามฉบับไว้ในครอบครองจึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับตามมาตรา 904 จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับโดยชอบย่อมมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1
จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสามฉบับมอบให้ ว. โดยมีข้อตกลงว่าจะไม่มีการนำไปเรียกเก็บเงินโดยโจทก์ทราบและโจทก์เอาเช็คพิพาททั้งสามฉบับไปจากตู้นิรภัยของ ว. แล้ว ลงวันที่และเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยไม่ยินยอมและธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงิน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับโดยชอบอันมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900 วรรคหนึ่ง, ม. 904, ม. 914, ม. 989 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 84/1


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2560
ตามหนังสือขอยืมวงเงินตั๋วอาวัล เอกสารหมาย จ.4 บริษัท ส. ขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลจากบริษัท สช. เป็นเงิน 9,518,738 บาท ซึ่งขณะนั้นกรรมการของบริษัท ส. มี 4 คน รวมโจทก์กับจำเลย ซึ่งหากต้องเฉลี่ยรับผิดในความเสียหายแล้วจะตกคนละ 2,379,684.50 บาท แต่ในเอกสารหมาย จ.4 ลงชื่อผู้ให้สัญญาเพียง 3 คน โดยไม่รวมจำเลยอยู่ด้วย ดังนั้น ความรับผิดของผู้ให้สัญญาแต่ละคนจะตกคนละ 3,172,912.67 บาท ซึ่งจำนวนเงินทั้งสองยอดดังกล่าวไม่ตรงกับจำนวนความรับผิดของโจทก์ จำนวน 2,139,184 บาท ตามที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง ซึ่งโจทก์อ้างว่าต้องรับผิดจำนวนดังกล่าวลอย ๆ โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงแตกต่างกันเช่นนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าการมอบเช็คให้จำเลยได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นการสั่งจ่ายเพื่อค้ำประกันดังที่โจทก์อ้าง ทั้ง ๆ ที่เช็คมีจำนวนเงินสูงถึง 2,139,184 บาท และเป็นเช็คที่ออกในนามโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันการขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลที่มีการชำระเงินแล้วตามฟ้อง จำเลยย่อมเป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าว และนำไปสลักหลังมอบให้บุคคลอื่นได้ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายตามฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 904, ม. 905, ม. 914, ม. 916
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที