Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 913 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 913 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 913” คืออะไร? 


“มาตรา 913” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 913 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้น ท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
              (๑) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
              (๒) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
              (๓) เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น หรือ
              (๔) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 913” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 913 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9904/2557
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่าให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม เช่นนี้ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวคือ วันที่ทวงถามให้ใช้เงิน ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 913 (3) หาใช่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ เพราะวันดังกล่าวเป็นเพียงวันที่อาจใช้สิทธิทวงถามได้เท่านั้น เมื่อยังไม่ใช้สิทธิทวงถามก็ยังไม่ถึงวันกำหนดใช้เงิน อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ เพราะอายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ซึ่งก็คือวันถึงกำหนดใช้เงิน
หนังสือทวงถามกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 รับหนังสือทวงถามวันที่ 20 มกราคม 2547 ครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ภายในวันดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วสัญญาใช้เงินได้นับแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 23 ธันวาคม 2547 อันเป็นวันฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน และยังไม่พ้นกำหนด 3 ปี ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 1001 ตามลำดับ ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/30, ม. 913 (3), ม. 1001


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6292/2555
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทถึงกำหนดเมื่อทวงถามมิใช่ถึงกำหนดเมื่อได้เห็น ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้ โดยหาจำต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลยเพื่อให้จำเลยชำระเงินก่อนไม่
ตามตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความระบุไว้ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี แสดงว่าไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่เบี้ยปรับ เฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 16 ต่อปี สูงเกินส่วน ศาลจะลดไปจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 379, ม. 913 (3), ม. 944, ม. 985


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8795/2551
คำให้การของจำเลยทั้งห้านอกจากจะให้การปฏิเสธว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยทั้งห้ายังได้อธิบายถึงเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความไว้ด้วยว่า ตามภาระหนี้ต้นเงินโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเกินกว่า 3 ปี และในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทั้งห้าก็เกินกว่า 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งแล้ว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้ารับผิดตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเพียงอย่างเดียว จำเลยทั้งห้าก็ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในคำให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเรื่องอะไร
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดวันชำระต้นเงินเมื่อทวงถามตาม ป.พ.พ. มาตรา 913 (3) ประกอบกับมาตรา 985 อายุความจึงเริ่มนับเมื่อเจ้าหนี้เดิม หรือโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากหนังสือฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2539 ว่าเจ้าหนี้เดิมส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่ได้มีการทวงถามให้ชำระหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และแม้คดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 913 (3), ม. 985, ม. 1001
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสอง, ม. 245 (1), ม. 247
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที