Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 909 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 909 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 909” คืออะไร? 


“มาตรา 909” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 909 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันตั๋วแลกเงินนั้น ต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
              (๑) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
              (๒) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
              (๓) ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่าย
              (๔) วันถึงกำหนดใช้เงิน
              (๕) สถานที่ใช้เงิน

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตั๋วแลกเงิน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตั๋วแลกเงิน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


              (๖) ชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
              (๗) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
              (๘) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 909” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 909 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2533
จำเลยที่ 4 มิได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแม้จำเลยที่ 4 ให้การว่าห้าง จำเลยที่ 1 ไม่เคยผูกนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้อันโจทก์จะอ้างกับห้างจำเลยที่ 1ก็ไม่ชัดแจ้งว่าได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องนี้ การที่จำเลยที่ 4นำสืบปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 909 (2), ม. 987, ม. 989, ม. 1068
ป.วิ.พ. ม. 59, ม. 177


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2530
ตั๋วแลกเงินระบุว่า ธนาคาร ฮ.เป็นผู้รับเงิน มีชื่อบริษัทจำเลยและตราบริษัท กับลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยอีกแห่งหนึ่งอันหมายความถึงการรับรองตั๋วแลกเงินจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้จ่ายหาจำต้องมีข้อความระบุว่า'ผู้จ่าย' ด้วยไม่ ส่วนบริษัทค.ซึ่งในตั๋วแลกเงินมีระบุชื่อบริษัทดังกล่าวและลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการด้วย จึงต้องถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้สั่งจ่าย และไม่จำต้องมีข้อความเขียนว่า 'ผู้สั่งจ่าย'เช่นกัน
ธนาคาร ฮ. ผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินซึ่งเป็นผู้ทรงได้สลักหลังให้ธนาคาร ก. จัดการแทน และธนาคาร ก. ได้สลักหลังต่อไปยังโจทก์ในฐานะจัดการแทน โจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินและจะใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นได้ทั้งสิ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 925 โจทก์จึงมีสิทธิติดตามทวงถามเงินตามตั๋วแลกเงินและฟ้องคดีได้ด้วยตนเอง.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 909, ม. 925
ป.วิ.พ. ม. 55


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2530
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จำเลยจ่ายเงินแก่ธนาคาร ฮ.ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนของบริษัทค.และเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงิน ธนาคาร ฮ. สลักหลังตั๋วแลกเงินให้ธนาคาร ก. ดำเนินการแทนโดยธนาคาร ก. ได้จัดการให้จำเลยรับรองตั๋วแลกเงินแล้ว เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดจำเลยผิดนัดไม่ยอมชำระเงินแก่ธนาคาร ก. บริษัท ค. มอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ติดตามเรียกให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วแลกเงินธนาคาร ก. จึงสลักหลังตั๋วแลกเงินให้แก่โจทก์ในฐานะจัดการแทน การสลักหลังของธนาคาร ก. เป็นการสลักหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 925 โจทก์ผู้รับสลักหลังจึงเป็นตัวแทนของบริษัท ค. ซึ่งเป็นตัวการ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้เดิม โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ธนาคาร ฮ. ได้สลักหลังให้ธนาคาร ก. ดำเนินการแทน" ต่อมาโจทก์แก้ฟ้องเป็นว่า"บริษัท ค. ได้มอบหมายให้โจทก์ดำเนินการแทน" คำฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม รายการในตั๋วแลกเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 909(3) ระบุเพียงว่า"ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่าย" จะถือว่าต้องมีข้อความระบุว่า "ผู้จ่าย"ด้วยไม่ได้และมาตรา 909(8) ระบุเพียงว่า "ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย"ไม่จำต้องมีข้อความเขียนว่า "ผู้สั่งจ่าย" ด้วย เมื่อธนาคาร ฮ. ผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงิน ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินได้สลักหลังตั๋วแลกเงินให้ธนาคาร ก. จัดการแทน และธนาคาร ก. สลักหลังต่อไปยังโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินและจะใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋ว นั้นย่อมได้ทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 925 โจทก์จึงมีสิทธิติดตามทวงถามเงินตามตั๋วแลกเงิน และฟ้องคดีได้ด้วยตนเอง จำเลยมีชื่อ ในตั๋วแลกเงิน และยังมีตรา บริษัท และลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยอีกแห่งหนึ่งด้วย อันหมายความถึงการรับรองตั๋วแลกเงิน จึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้จ่าย.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 909, ม. 925, ม. 937
ป.วิ.พ. ม. 172
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที