Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 908 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 908 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 908” คืออะไร? 


“มาตรา 908” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 908 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 908” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 908 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5250/2555
โจทก์นำตั๋วแลกเงินของบริษัท น. ที่สั่งจ่ายแก่จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 5 เป็นผู้รับอาวัลแก่โจทก์จำนวน 4 ฉบับ ไปไถ่ถอนคืนจากจำเลยที่ 5 ก่อนครบกำหนดอ้างว่าขอรับเป็นเงินสด แต่จำเลยที่ 5 ไม่มีเงินสด จำเลยที่ 5 จึงออกตั๋วแลกเงินตามฟ้องจำนวน 4 ฉบับ ให้แทน หลังจากนั้น 4 วัน จำเลยที่ 5 ถูกระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า โจทก์เคยไถ่ถอนก่อนครบกำหนดใช้เงินมาก่อนครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการไถ่ถอนก่อนกำหนดเป็นประเพณีการค้าปกติ การเปลี่ยนเป็นตั๋วแลกเงินตามฟ้องเป็นผลให้มีเพียงจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น โดยบริษัท น. ซึ่งต้องร่วมรับผิดด้วยแต่เดิมหลุดพ้นความรับผิดไป ทั้งเป็นการเร่งรีบออกตั๋วแลกเงินตามฟ้องให้ใหม่ โดยพฤติการณ์เสมือนหนึ่งว่าได้ล่วงรู้ข้อมูลภายในถึงเรื่องที่จำเลยที่ 5 จะต้องถูกทางการสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการ และทางการจะให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 5 โดยออกมาตรการให้นำตั๋วแลกเงินซึ่งเป็นของสถาบันการเงินไปแลกเปลี่ยนเป็นบัตรเงินฝากของจำเลยที่ 4 ซึ่งหากยังคงเป็นตั๋วแลกเงิน 4 ฉบับ เดิมซึ่งเป็นของบริษัท น. อยู่ โจทก์ก็ไม่อาจนำไปแลกเปลี่ยนเป็นบัตรเงินฝากของจำเลยที่ 4 ได้ และดอกเบี้ยที่คิดรวมให้ในตั๋วแลกเงินตามฟ้องก็นำสืบให้รับฟังไม่ได้ว่าเป็นอัตราตามตลาดเงิน กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมส่อไปในทางไม่สุจริตหรือไม่เป็นประเพณีการค้าปกติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้รับแลกเปลี่ยนตั๋วแลกเงินตามฟ้องเป็นบัตรเงินฝากของจำเลยที่ 4 ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 908
พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ม. 29 ตรี


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2522
เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการขายลดตั๋วเงินดังกล่าว หาได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วแลกเงินไม่สัญญาขายลดตั๋วเงินไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะดังนั้น จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนดอายุความ 10 ปี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 680, ม. 898, ม. 908


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2521
กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาสืบเพื่อรับรองความถูกต้องของคำแปล เมื่อจำเลยเห็นว่าคำแปลตอนไหนไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรจำเลยก็ชอบที่จะโต้แย้งหรือแสดงคำแปลที่ถูกต้องได้
การที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเมื่อจำเลยผู้จ่ายซึ่งได้รับรองตั๋วแลกเงินแล้วไม่ยอมจ่ายเงินนั้น ได้เข้าถือเอาตั๋วแลกเงินโดยผู้รับเงินและตัวแทนสละตั๋วแลกเงินนั้นให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 970 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินตามตั๋วแลกเงินและดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้นคิดอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 969
เมื่อหนี้ตามตั๋วแลกเงินมีกำหนดระยะเวลาชำระแน่นอนอยู่แล้วโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 46
ป.พ.พ. ม. 204, ม. 900, ม. 908, ม. 914, ม. 925, ม. 937, ม. 969, ม. 970
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที