Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 905 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 905 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 905” คืออะไร? 


“มาตรา 905” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 905 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่ง คำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้ว ท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย
              ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริต หรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
              อนึ่ง ข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 905” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 905 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2560
ตามหนังสือขอยืมวงเงินตั๋วอาวัล เอกสารหมาย จ.4 บริษัท ส. ขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลจากบริษัท สช. เป็นเงิน 9,518,738 บาท ซึ่งขณะนั้นกรรมการของบริษัท ส. มี 4 คน รวมโจทก์กับจำเลย ซึ่งหากต้องเฉลี่ยรับผิดในความเสียหายแล้วจะตกคนละ 2,379,684.50 บาท แต่ในเอกสารหมาย จ.4 ลงชื่อผู้ให้สัญญาเพียง 3 คน โดยไม่รวมจำเลยอยู่ด้วย ดังนั้น ความรับผิดของผู้ให้สัญญาแต่ละคนจะตกคนละ 3,172,912.67 บาท ซึ่งจำนวนเงินทั้งสองยอดดังกล่าวไม่ตรงกับจำนวนความรับผิดของโจทก์ จำนวน 2,139,184 บาท ตามที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง ซึ่งโจทก์อ้างว่าต้องรับผิดจำนวนดังกล่าวลอย ๆ โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงแตกต่างกันเช่นนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าการมอบเช็คให้จำเลยได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นการสั่งจ่ายเพื่อค้ำประกันดังที่โจทก์อ้าง ทั้ง ๆ ที่เช็คมีจำนวนเงินสูงถึง 2,139,184 บาท และเป็นเช็คที่ออกในนามโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันการขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลที่มีการชำระเงินแล้วตามฟ้อง จำเลยย่อมเป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าว และนำไปสลักหลังมอบให้บุคคลอื่นได้ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายตามฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 904, ม. 905, ม. 914, ม. 916


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12634/2555
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยจำเลยที่ 2 ได้สลักหลังแล้วมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่บริษัท ก. แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทดังกล่าวยักยอกเช็คไป บริษัท ก. ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเจ้าพนักงานตำรวจแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นมาโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 เพื่อฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาโดยสุจริต การที่จำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวเป็นผู้ทุจริต จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นใช้ยันต่อโจกท์ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916 เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้ถือจึงนับได้ว่าเป็นผู้ทรง เมื่อโจทก์นำไปขึ้นเงินจากธนาคารตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 905, ม. 916


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2548
จำเลยให้การว่า โจทก์และจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ช. เพื่อเป็นหลักประกัน ช. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยโจทก์นำเช็คพิพาทไปลงวันที่แล้วนำไปเรียกเก็บเงินนั้น เป็นคำให้การที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์คบคิดกับ ช. ฉ้อฉลจำเลยอย่างไร จึงไม่มีประเด็นเรื่องการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ที่จะนำสืบ เมื่อเช็คพิพาทเป็นตราสารที่โอนเปลี่ยนมือกันได้ ช. ผู้ทรงย่อมมีสิทธิโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ทั้งเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้ผู้ถือ เบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ผู้ทรงรับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คพิพาทซึ่งจำเลยไม่ลงวันสั่งจ่ายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 224 วรรคหนึ่ง, ม. 900, ม. 905, ม. 910, ม. 914, ม. 916, ม. 989
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสอง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที