Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 903 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 903 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 903” คืออะไร? 


“มาตรา 903” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 903 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในการใช้เงินตามตั๋วเงิน ท่านมิให้ให้วันผ่อน “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 903” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 903 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2521
การที่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินยอมผ่อนเวลาให้กับผู้ออกตั๋วนั้นไม่เป็นเหตุให้ผู้รับอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันจึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับผู้ออกตั๋ว และไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันตามหลักทั่วไปในเรื่องค้ำประกัน
ผู้รับอาวัลสั่งจ่ายเช็คจำนวนหนึ่งผ่อนชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นการรับสภาพหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น และย่อมเป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 172, ม. 688, ม. 689, ม. 700, ม. 903, ม. 938, ม. 940, ม. 967, ม. 985, ม. 1001


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2521
การที่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินยอมผ่อนเวลาให้กับผู้ออกตั๋วนั้นไม่เป็นเหตุให้ผู้รับอวัลหยุดพ้นจากความรับผิด เพราะผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่งเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันจึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับผู้ออกตั๋ว และไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันตามหลักทั่วไปในเรื่องค้ำประกัน
ผู้รับอาวัลสั่งจ่ายเช็คจำนวนหนึ่งผ่อนชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นการรับสารภาพหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น และย่อมเป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 172, ม. 688, ม. 689, ม. 700, ม. 903, ม. 938, ม. 940, ม. 967, ม. 985, ม. 1001
มาตรา 904 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 904 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 904” คืออะไร? 
“มาตรา 904” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 904 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 904” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 904 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2562
เช็คพิพาททั้งสามฉบับจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมีชื่อโจทก์หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาททั้งสามฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง โจทก์เป็นผู้มีเช็คพิพาททั้งสามฉบับไว้ในครอบครองจึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับตามมาตรา 904 จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับโดยชอบย่อมมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1
จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสามฉบับมอบให้ ว. โดยมีข้อตกลงว่าจะไม่มีการนำไปเรียกเก็บเงินโดยโจทก์ทราบและโจทก์เอาเช็คพิพาททั้งสามฉบับไปจากตู้นิรภัยของ ว. แล้ว ลงวันที่และเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยไม่ยินยอมและธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงิน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับโดยชอบอันมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900 วรรคหนึ่ง, ม. 904, ม. 914, ม. 989 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 84/1


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2560
ตามหนังสือขอยืมวงเงินตั๋วอาวัล เอกสารหมาย จ.4 บริษัท ส. ขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลจากบริษัท สช. เป็นเงิน 9,518,738 บาท ซึ่งขณะนั้นกรรมการของบริษัท ส. มี 4 คน รวมโจทก์กับจำเลย ซึ่งหากต้องเฉลี่ยรับผิดในความเสียหายแล้วจะตกคนละ 2,379,684.50 บาท แต่ในเอกสารหมาย จ.4 ลงชื่อผู้ให้สัญญาเพียง 3 คน โดยไม่รวมจำเลยอยู่ด้วย ดังนั้น ความรับผิดของผู้ให้สัญญาแต่ละคนจะตกคนละ 3,172,912.67 บาท ซึ่งจำนวนเงินทั้งสองยอดดังกล่าวไม่ตรงกับจำนวนความรับผิดของโจทก์ จำนวน 2,139,184 บาท ตามที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง ซึ่งโจทก์อ้างว่าต้องรับผิดจำนวนดังกล่าวลอย ๆ โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงแตกต่างกันเช่นนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าการมอบเช็คให้จำเลยได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นการสั่งจ่ายเพื่อค้ำประกันดังที่โจทก์อ้าง ทั้ง ๆ ที่เช็คมีจำนวนเงินสูงถึง 2,139,184 บาท และเป็นเช็คที่ออกในนามโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันการขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลที่มีการชำระเงินแล้วตามฟ้อง จำเลยย่อมเป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าว และนำไปสลักหลังมอบให้บุคคลอื่นได้ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายตามฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 904, ม. 905, ม. 914, ม. 916


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2560
โจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่กลับรับสมอ้างเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ของ ป. และนำเช็คพิพาทจาก ก. ภริยาโจทก์ มาฟ้องจำเลยทั้งสอง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 904
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที