“มาตรา 902 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 902” คืออะไร?
“มาตรา 902” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 902 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อของบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้ ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน“
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 902” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 902 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14924/2555
ขณะที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับมานั้น ยังไม่เกิดข้อพิพาทกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสวนลำไยระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ส. เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงยังคงมีมูลหนี้ต่อกัน แม้หนี้ระหว่าง ป. กับ อ. จะไม่มีหลักฐานการซื้อขาย ก็มิได้แสดงว่าทั้งสองฝ่ายมิได้มีหนี้ต่อกันเพราะมิฉะนั้น ป. คงไม่สลักหลังส่งมอบเช็คให้แก่ อ. ในขณะที่รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลที่จะเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 นั้นจะต้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็คเท่านั้น ดังนั้น การที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับไว้จึงมิใช่เป็นการคบคิดกับ ป. เพื่อฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 กับ ส. ได้มีการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แจ้งให้ อ. ทราบแล้ว ก่อนที่เช็คพิพาททั้งสองฉบับจะถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน แต่ อ. กลับนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินนั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่า อ. ได้รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับด้วยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่สุจริต
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจาก ส. แล้วจำเลยที่
2 ออกเช็คของจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มอบให้ ส. และ ป. ต่อมา ป. ได้สลักหลังเช็คดังกล่าวให้แก่ อ. สามีโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีหนี้ที่ต้องชำระเป็นส่วนตัว การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว และในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ครวมสองฉบับ โดยเช็คทั้งสองฉบับมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ค่าแบ่งผลประโยชน์ในการทำสวนลำไย และค่าดูแลรักษาสวนลำไยให้แก่ ป. ตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคล
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900, ม. 902, ม. 916, ม. 989
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536
เมื่อได้ความว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์โดยมีมูลหนี้ระหว่างกันจึงหาต้องคำนึงถึงการรับโอนของผู้ทรงคนต่อมาว่าสุจริตหรือไม่ เพราะจำเลยไม่สามารถยกข้อต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้ทรงคนก่อนได้อยู่แล้ว เช็คพิพาทเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับดวงตราสำคัญแบบใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนการใช้ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย แต่การที่เช็คพิพาทลงลายมือชื่อบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลยหรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผล ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 902 ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดตามเช็ค จำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพียงแต่อ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามเช็ค ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 902, ม. 916
ป.วิ.พ. ม. 84 (1)
ป.รัษฎากร ม. 118
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536
การที่เช็คพิพาทประทับดวงตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1ไม่ถูกต้อง ไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งลงชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 902 เช็คพิพาทชำระค่าอากรแสตมป์ไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด ผลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึง จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้นมิใช่จะฟ้องบังคับคดีตามเช็คไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 902
ป.รัษฎากร ม. 118