Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 900 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 900” คืออะไร? 


“มาตรา 900” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 900 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น
              ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงไดหรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่ “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตั๋วเงิน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตั๋วเงิน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 900” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 900 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2562
เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าเช็คพิพาทมีมูลหนี้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง แม้ว่าจำเลยจะลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900, ม. 914, ม. 916


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2562
เช็คพิพาททั้งสามฉบับจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมีชื่อโจทก์หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาททั้งสามฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง โจทก์เป็นผู้มีเช็คพิพาททั้งสามฉบับไว้ในครอบครองจึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับตามมาตรา 904 จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับโดยชอบย่อมมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1
จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสามฉบับมอบให้ ว. โดยมีข้อตกลงว่าจะไม่มีการนำไปเรียกเก็บเงินโดยโจทก์ทราบและโจทก์เอาเช็คพิพาททั้งสามฉบับไปจากตู้นิรภัยของ ว. แล้ว ลงวันที่และเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยไม่ยินยอมและธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงิน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสามฉบับโดยชอบอันมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900 วรรคหนึ่ง, ม. 904, ม. 914, ม. 989 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 84/1


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6414/2560
ป.วิ.พ. มาตรา 244/1 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 247 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่มาตรา 244/1 ดังกล่าวบัญญัติเพิ่มโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 9 บัญญัติว่า บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด และมาตรา 2 บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 ใช้บังคับ ฎีกาของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 244/1

โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เมื่อจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจริง ในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย จำเลยนำสืบว่า โจทก์ปล่อยเงินกู้แก่พนักงานบริษัท ท. ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน โดยจำเลยทำหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ โจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกู้ แต่จำเลยต้องมอบเช็คไว้ให้แก่โจทก์ เพื่อไม่ให้จำเลยผิดนัดในการนำเงินที่เก็บจากลูกหนี้มามอบให้โจทก์ เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับลูกหนี้แต่ละรายชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ หากเป็นความจริงดังข้อต่อสู้ของจำเลย การออกเช็คเพื่อไม่ให้จำเลยผิดนัดในการนำเงินที่เก็บจากลูกหนี้มามอบให้แก่โจทก์นั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการออกเช็คเพื่อแลกกับการที่จำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปเก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ จากนั้นจำเลยกับโจทก์จึงจะมาคิดหักทอนบัญชีเกี่ยวกับมูลหนี้ หากโจทก์ไม่ได้รับเงินที่จำเลยเก็บจากลูกหนี้ โจทก์ก็จะได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยเก็บเงินจากลูกหนี้แล้ว ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คนั้น จะอ้างว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ เมื่อเงินที่จำเลยโอนเข้าบัญชีของโจทก์ยังไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการชำระเงินซึ่งเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยซึ่งมีภาระการพิสูจน์ไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้สมดังข้ออ้าง จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 244/1
ป.พ.พ. ม. 900 วรรคหนึ่ง, ม. 224 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที