Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 899 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 899 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 899” คืออะไร? 


“มาตรา 899” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 899 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 899” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 899 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2554
ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นตั๋วเงินอันมีลักษณะเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ย่อมโอนกันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ การสลักหลังต่อไปย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วเงินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 920 วรรคหนึ่ง และผู้ทรงซึ่งเป็นผู้รับโอนตั๋วเงินไปชอบที่จะเรียกร้องเอาเงินใช้จากบุคคลซึ่งตนใช้สิทธิไล่เบี้ยในจำนวนเงินในตั๋วเงินซึ่งเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้กับทั้งดอกเบี้ยด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 968(1) การที่ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดให้คิดดอกเบี้ยก่อนถึงกำหนดใช้เงินตามความในมาตรา 911 จำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นจำนวนที่ต้องรวมเป็นยอดเงินที่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและผู้รับอาวัลต้องผูกพันรับผิดเมื่อมีการไล่เบี้ย การสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินจึงต้องเป็นการโอนไปทั้งจำนวนเต็มของยอดเงินที่กำหนดไว้ในตั๋วเงินและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตามผลของมาตรา 911 กรณีจึงไม่อาจกำหนดให้มีการให้มีการจ่ายดอกเบี้ยออกไปจากตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนได้ เพราะจะทำให้ความรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงินลดลง การระบุในตั๋วสัญญาใช้เงินให้จ่ายดอกเบี้ยเป็นรายเดือนจึงเป็นการกำหนดข้อความอื่นใด ซึ่งมิได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 21 เรื่องตั๋วเงิน ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่ตามมาตรา 899 ดังนั้น ข้อความที่เขียนให้มีการจ่ายดอกเบี้ยเป็น "รายเดือน" จึงถือเสมือนว่าไม่มีการเขียนลงไว้ในตั๋วเงินโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินรับผิดชำระค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 899, ม. 911, ม. 920 วรรคหนึ่ง, ม. 968 (1)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2554
ข้อความด้านหลังเช็คที่ระบุว่า "เช็คฉบับนี้ให้ไว้เพื่อประกันหนี้" ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยเขียนข้อความขึ้นเองฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงด้วย ทั้งเป็นข้อความที่ไม่มีบทบัญญัติใดใน ป.พ.พ. ลักษณะตั๋วเงินบัญญัติให้เขียนลงได้ในตั๋วเงิน การเขียนข้อความเช่นนี้ย่อมไม่มีผลใดๆ แก่ตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 899 การที่พนักงานของโจทก์ไม่นำมาเป็นเหตุโต้แย้งย่อมไม่เป็นพิรุธ เพราะข้อความดังกล่าวไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของเช็คพิพาทแต่ประการใด โจทก์ไม่จำต้องทำตามข้อห้ามที่ด้านหลังเช็คพิพาท ประกอบกับไม่ปรากฏรายละเอียดว่าจำเลยทั้งสองจะใช้หนี้โจทก์ด้วยวิธีใดอีก และจะใช้หนี้ให้เสร็จเมื่อใด ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทโดยวัตถุประสงค์เพื่อประกันหนี้ฟังไม่ขึ้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 83
ป.พ.พ. ม. 899
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 4


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6305/2548
เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายมีการขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก แล้วเขียนคำว่า "สด" ลงไปในช่องว่างหลังคำว่า "จ่าย" ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่มีชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 988 (4) บัญญัติไว้ และการขีดฆ่าดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 899 ซึ่งเป็นเรื่องการเขียนข้อความที่มิได้มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะตั๋วเงิน ข้อความที่เขียนลงไปจึงไม่มีผลแก่ตั๋วเงิน การที่เช็คพิพาทขาดรายการซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมี ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตามมาตรา 987 และมาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แม้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังก็ไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 899, ม. 900, ม. 910, ม. 987, ม. 988 (4), ม. 989
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที