Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 892 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 892 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 892” คืออะไร? 


“มาตรา 892” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 892 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีบอกล้างสัญญาตามความในมาตรา ๘๖๕ ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาทของผู้นั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 892” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 892 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2536
ผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันชีวิตซึ่งการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคแรก มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาให้ผู้รับประกันภัยทราบ และจะถือว่าการที่ผู้รับประกันภัยไม่ตรวจสุขภาพของผู้เอาประกันภัยก่อนเป็นการละเลยหาได้ไม่ แม้การประกันชีวิตในทุนประกันภัยต่ำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพของผู้เอาประกันภัยก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับประกันภัยไม่ถือเอาเรื่องสุขภาพของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ สัญญาประกันภัยชีวิตที่กระทำโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก เป็นโมฆียะมีผลให้ผู้รับประกันภัยใช้สิทธิบอกล้างได้ หากผู้รับประกันภัยไม่ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้ จึงเป็นสิทธิของผู้รับประกันภัยจะบอกล้างหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น แม้ผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิบอกล้างแต่เพียงเฉพาะสัญญารายใดก็หาเป็นการไม่ชอบไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 865, ม. 892


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2531
ผู้เอาประกันชีวิตทราบก่อนทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยว่าตนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจนตับอักเสบแต่มิได้แจ้งให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิบอกล้างได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันชีวิตตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด ดังนั้นเมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยจึงชอบที่จะบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์แล้ว ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 137, ม. 138, ม. 865, ม. 892


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2516
หน้าที่เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัย มิได้สิ้นสุดลงเพียงในชั้นยื่นคำเสนอขอเอาประกันภัยโดยกรอกคำตอบในแบบคำขอนั้นเท่านั้น แต่ยังคงมีอยู่ตลอดเวลาในระหว่างนั้นเรื่อยไปจนถึงเวลาที่ผู้รับประกันภัยสนองตอบรับจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วระหว่างคู่กรณี ฉะนั้น ในกรณีประกันชีวิต แม้ผู้เอาประกันภัยจะได้กรอกแบบคำขอเอาประกันชีวิตแล้ว โดยเฉพาะในข้อถามที่ 7 ว่า ตนไม่เคยเป็นโรคกระเพาะอักเสบ โรคตับอักเสบ ฯลฯ ยื่นส่งแก่บริษัทประกันภัยไปแล้วก็ตาม ถ้าภายหลังนั้นผู้เอาประกันภัยเกิดป่วยต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคกระเพาะอาหารและโรคตับแข็งซึ่งเป็นผลให้ข้อความจริงซึ่งได้แถลงไปแล้วแต่แรกนั้นคลาดเคลื่อนไม่ตรงต่อความเป็นจริง และผู้เอาประกันภัยย่อมทราบว่ายังอยู่ในระหว่างเวลาที่บริษัทยังพิจารณาคำขอ และยังมิได้ออกกรมธรรม์ตอบรับมา ทั้งข้อถามต่างๆ ในแบบคำขอนั้น ผู้เอาประกันภัยเองก็ได้ทราบและรับรองไว้ว่าเป็นข้อความจริงอันเป็นมูลฐานและสารสำคัญแห่งการออกกรมธรรม์ของฝ่ายผู้รับประกันภัยดังนี้ ย่อมมีผลให้สัญญาไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกล้างและคืนแต่ค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 865, ม. 892
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที