Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 891 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 891 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 891” คืออะไร? 


“มาตรา 891” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 891 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น
              ถ้ากรมธรรม์ประกันภัยได้ทำเป็นรูปให้ใช้เงินตามเขาสั่งแล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๐๙ มาใช้บังคับ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 891” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 891 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2565
ส. ทำคำขอเอาประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยพิพาท โดยมีเจตนาให้เฉพาะโจทก์ทั้งสองเท่านั้นเป็นผู้รับประโยชน์ มิได้มีเจตนาให้ทายาทตามกฎหมายเป็นผู้รับประโยชน์ด้วย การจ่ายเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับดังกล่าวย่อมเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า ผู้เอาประกันภัยสามารถระบุชื่อผู้รับประโยชน์ได้ เมื่อผู้ได้รับความคุ้มครองเสียชีวิตบริษัทจะจ่ายเงินผลประโยชน์ใด ๆ ภายใต้ข้อกำหนดกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุนั้น หากมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ บริษัทจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่กองมรดกของผู้ได้รับความคุ้มครอง เมื่อพิจารณาประกอบกับความตอนต้นแห่งกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุให้คำขอเอาประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันภัยแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ ส. โดยระบุทายาทตามกฎหมายเป็นผู้รับประโยชน์นั้นไม่ตรงกับเจตนาของ ส. และไม่เป็นไปตามข้อสัญญาดังกล่าว กรมธรรม์ประกันภัยพิพาทส่วนที่ระบุทายาทตามกฎหมายเป็นผู้รับประโยชน์จึงไม่มีผลบังคับและไม่ผูกพัน กรมธรรม์ประกันภัยส่วนที่กำหนดผู้รับประโยชน์ย่อมต้องถือตามที่ระบุในคำขอเอาประกันภัยของ ส. จำเลยที่ 1 ต้องใช้เงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 889, ม. 891


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2534
ล. รู้ตัวว่าตนเป็นโรคไตวายร้ายแรง แต่ละเว้นไม่เปิดเผยความจริงทำให้จำเลยเข้าทำสัญญายอมรับประกันชีวิตล. โดยไม่ทราบการเป็นโรคไตร้ายแรงดังกล่าว ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 เมื่อจำเลยบอกล้างภายในกำหนดแล้ว สัญญาย่อมตกเป็น โมฆะ ดังนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 865, ม. 891


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2486
สัญญาค้ำประกันไม่จำต้องระบุสถานที่ทำและไม่ต้องมีชื่อพยานและผู้เขียน
ค้ำประกันหนี้ไนอนาคตและไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ เจ้าหนี้ผ่อนไห้ลูกหนี้ชำระเปนงวด ๆ และไห้หาประกันมาไหม่อีกได้ไม่ทำไห้ผู้ค้ำประกันเดิมหลุดพ้น
ข้อบังคับของบริสัทไห้อำนาดกัมการคนเดียวลงนามแทนบริสัทได้ ก็ย่อมมีอำนาดลงนามผู้เดียวมอบอำนาดไห้ผู้อื่นฟ้องความได้ตาม ม. 1144 ไม่เกี่ยวกับ ม. 801
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวไนสาลล่าง จะยกขึ้นดีกาไม่ได้
คำแถลงไนสาลล่างนั้นไม่ถือว่าเปนประเด็นที่ยกขึ้นว่ากล่าวไนชั้นั้นเพราะคำแถลงเปนเพียงอธิบายประเด็นแห่งคดี
การที่จะอ้างพยานเปนครั้งแรกไนสาลอุธรน์ได้หรือไม่นั้น หากอ้างได้ก็หยู่ไนดุลพินิจของสาลอุธรน์ที่จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้
พรึติการน์ที่ถือว่าไม่ควนอนุญาตไห้พยานหลักถานที่พึ่งค้นพบไนชั้นสาลอุธรน์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 9, ม. 113, ม. 681, ม. 700, ม. 891, ม. 1144, , ม. 172, ม. 177, ม. 182, ม. 183, ม. 186, ม. 246, ม. 247, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที