Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 886 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 886 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 886” คืออะไร? 


“มาตรา 886” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 886 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันกรมธรรม์ประกันภัยในการรับขนนั้น นอกจากที่ได้ระบุไว้แล้วในมาตรา ๘๖๗ ต้องมีรายการเพิ่มขึ้นอีกดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
              (๑) ระบุทางและวิธีขนส่ง
              (๒) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ขนส่ง
              (๓) สถานที่ซึ่งกำหนดให้รับและส่งมอบของ
              (๔) กำหนดระยะเวลาขนส่งตามแต่มี “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 886” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 886 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2555
ป.พ.พ. มาตรา 883 และมาตรา 885 ชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้วิธีการเฉพาะการประกันภัยในการรับขนคุ้มถึงความวินาศภัยทุกอย่างซึ่งอาจจะเกิดแก่ของที่ขนส่งในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับของไป จนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง จึงได้กำหนดความคุ้มครองไว้ชัดแจ้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เอาประกันภัยและบังคับให้ผู้รับประกันภัยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอันจะส่งผลก่อเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกรณีมีวินาศภัยเกิดขึ้น
เมื่อมีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการเฉพาะการประกันภัยในการรับขนให้คุ้มถึงความวินาศภัยซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับขนไปจนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง จึงไม่อาจนำวิธีการประกันภัยซึ่งมีกำหนดเวลาในกรณีทั่วไปมาปรับใช้ เว้นแต่จะได้ระบุไว้ในสัญญาเป็นอย่างอื่น ดังนี้ สัญญาประกันภัยในการรับขนที่มีกำหนดเวลาย่อมคุ้มถึงความวินาศภัยทุกอย่างซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งตั้งแต่เวลาที่รับของไปในกำหนดเวลาประกันภัย จนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง หาได้มีความหมายว่าสัญญาประกันภัยสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดเวลาประกันภัยทันทีดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัยในกรณีทั่วไปที่มิได้มุ่งคุ้มถึงความวินาศภัยซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งจนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง โจทก์รับประกันภัยรถแทรกเตอร์ที่ขนส่งตั้งแต่โกดังของผู้เอาประกันภัยจนถึงโกดังของลูกค้าของผู้เอาประกันภัย ถึงแม้สัญญาประกันภัยพ้นกำหนดระหว่างเดินทางก็คุ้มครองของที่ขนส่งจนถึงปลายทาง ถือว่าการประกันภัยยังไม่สิ้นสุดจนได้ส่งมอบรถแทรกเตอร์นั้นแก่ผู้รับตราส่ง และกำหนดเวลาประกันภัยหาสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 886 (4) ไม่ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงแต่กำหนดให้ต้องเริ่มทำการขนส่งภายในกำหนดที่ระบุไว้เท่านั้น หาได้มีความหมายว่าการประกันภัยสิ้นสุดเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาขนส่งไม่ เมื่อรถแทรกเตอร์ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง และโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยแล้วย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำในการทางที่จ้างของจำเลยที่ 2 ได้
ใบเสนอราคาค่าขนส่งเอกสารหมาย ป.ล. 1 จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาเสนอราคาค่าขนส่งแก่บริษัท ส. โดยระบุเพิ่มเติมว่า ราคาที่เสนอมานี้ไม่รวมค่าความเสียหายและสูญหายในระหว่างการขนส่ง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำประกันภัยการขนส่งไว้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และจำเลยที่ 1 หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะมีโอกาสได้รับใช้ท่านเหมือนเช่นเคยนั้น เป็นเพียงข้อเสนอค่าขนส่งที่ไม่รวมค่าเบี้ยประกันภัย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าบริษัท ส. แสดงความตกลงเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดโดยชัดแจ้ง ส่วนใบรับรถเอกสารหมาย ป.ล. 2 นั้น มีหลายใบแต่ไม่ปรากฏว่ามีใบรับในการขนส่งรถแทรกเตอร์ไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ลูกค้าของบริษัท ส. ดังนี้ ใบเสนอราคาและใบรับตามเอกสารหมาย ป.ล. 1 และ ป.ล. 2 ดังกล่าว ไม่เป็นข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 1
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 425, ม. 883, ม. 885, ม. 886 (4)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2526
โจทก์ฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดในความเสียหายอันเนื่องจากการขนส่งสินค้าของบริษัท ท. ที่ได้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ท. แล้ว จึงได้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เรียกร้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีตอนหนึ่งว่าจำเลยรับจ้าง ต. ขนสินค้าไปส่งให้แก่บริษัท ท. จำเลยไม่มีความผิดต่อบริษัทดังกล่าว แม้โจทก์จะรับช่วงสิทธิมาก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยรับจ้างขนสินค้าให้แก่บริษัท ท. หรือ ต.
ฟ้องของโจทก์มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือให้จำเลยทั้งหกในฐานะผู้ขนส่งร่วมกันรับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากการขนส่งสินค้า กับระบุว่าจำเลยทั้งหกเป็นผู้ว่าจ้างและรับจ้างทำการในหน้าที่รับขนส่งสินค้าและดำเนินงานร่วมกันในทางการที่ว่าจ้างให้ลุประสงค์ในการนำส่งสินค้าให้แก่บริษัท ท. โดยจำเลยทั้งหกมีหน้าที่ร่วมกันในการจัดการและการรับขนส่งอันเป็นการที่จะให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามสัญญารับขนส่ง แม้จะระบุด้วยว่าจำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่าจะให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง. และการที่โจทก์อ้างถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยมาด้วยก็เพื่อจะให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามสัญญารับขนส่ง มิใช่ให้รับผิดในฐานะละเมิด. ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ขึ้นมาปรับแก่คดีของจำเลยที่ 3 จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
การรับประกันภัยสินค้ารายนี้แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุว่าเป็นการรับประกันจากเมืองแชมเปอริโก ประเทศกัวเตมาลา ถึงกรุงเทพมหานคร แต่ก็มีเงื่อนไขให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ด้านหลังของสัญญาหรือกรมธรรม์ประกันภัยด้วยเมื่อข้อกำหนดดังกล่าวระบุว่า การประกันภัยนี้ใช้บังคับเริ่มจากเวลาที่สินค้าออกจากคลังสินค้าหรือสถานที่เก็บสินค้าเพื่อเริ่มการขนส่ง และสืบเนื่องต่อไประหว่างสายการขนส่งตามปกติ และสิ้นสุดลงเมื่อได้ส่งมอบถึงคลังสินค้าของผู้รับ ณ ปลายทางที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เช่นนี้ ความรับผิดของโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อได้ส่งมอบสินค้าถึงคลังสินค้าของบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้รับแล้ว
แม้บริษัท น.จะมิใช่ผู้เชี่ยวชาญของศาล แต่ก็ได้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการตรวจสอบสินค้าทั่วไปที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากภัยทางทะเล ป.เจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้สำรวจความเสียหายและทำรายงานโดยให้กรรมการผู้จัดการของบริษัทลงลายมือชื่อกำกับไว้ได้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายมาเป็นเวลา 11 ปีแล้ว ศาลรับฟังรายงานดังกล่าวประกอบคำเบิกความของ ป.เพื่อคำนวณความเสียหายได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 425, ม. 616, ม. 867, ม. 880, ม. 883, ม. 886
ป.วิ.พ. ม. 95, ม. 98, ม. 99, ม. 129, ม. 130, ม. 142, ม. 172, ม. 183
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที