Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 878 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 878 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 878” คืออะไร? 


“มาตรา 878” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 878 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น ท่านว่าผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออกใช้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 878” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 878 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2558
ค่าประเมินความเสียหายของรถเป็นค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยซึ่งโจทก์ผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยจึงไม่อาจเรียกร้องเงินดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 878
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 878


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2548
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐสังคมเวียดนามกับเป็นผู้ว่าจ้างและชำระค่าตรวจสอบความเสียหายให้แก่บริษัทผู้ตรวจสอบความเสียหายโดยตรง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่ที่โจทก์จ่ายแทนผู้เอาประกันภัยไปนั้นเป็นเพราะผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่หรือความจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเฉพาะที่รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายของสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปโดยตรงเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องในค่าตรวจสอบความเสียหาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 227, ม. 868, ม. 878


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ นั้นหมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ. เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 608, ม. 609 วรรคสอง, ม. 610, ม. 616, ม. 617, ม. 625, ม. 627, ม. 824, ม. 863, ม. 877, ม. 878, ม. 880, ม. 883
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที