Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 863 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 863 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 863” คืออะไร? 


“มาตรา 863” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 863 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด “

 

ค้นหาได้ทุกเรื่อง : "บทความทางกฎหมาย, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตรากฎหมาย" >> คลิก !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 863” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 863 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2564
เหตุแห่งการทำสัญญาประกันภัยเป็นผลสืบเนื่องมาจากที่ ว. เช่าซื้อรถจักรยานยนต์จากบริษัท ก. ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยแนบท้าย หมวด 2 ข้อตกลงคุ้มครอง และหมวด 4 เงื่อนไขทั่วไป ข้อ 9 ระบุว่า หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยสูญหายจากการลักทรัพย์ โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไม่เกินมูลค่าหนี้ค่าเช่าซื้อที่เหลืออยู่ตามสัญญา ณ วันที่เกิดความสูญหาย ส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) โจทก์จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แสดงให้เห็นว่าภัยที่ผู้เอาประกันภัยยกขึ้นเอาประกันกับโจทก์คือสิทธิและความรับผิดที่เกิดมีขึ้นตามสัญญาเช่าซื้อ และตามข้อตกลงแห่งกรมธรรม์ยังชี้ให้เห็นถึงภัยซึ่งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับเสี่ยงมีลักษณะเป็นการคุ้มครองสิทธิและความรับผิดที่เกิดมีขึ้นตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน เพราะนำมูลค่าหนี้ค่าเช่าซื้อที่เหลืออยู่ตามสัญญามาเป็นเงื่อนไขแห่งความรับผิดในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ผู้รับประกันภัยโดยมีบริษัท ก. ผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้รับประโยชน์ แต่ตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยนอกจากจะระบุรายละเอียดสัญญาเช่าซื้อไว้ยังได้ระบุถึงทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและระบุความคุ้มครองถึงการสูญหายหรือเสียหายโดยสิ้นเชิงของรถจักรยานยนต์ อันเป็นการกำหนดรายการวัตถุที่เอาประกันภัย ถือได้ว่าเป็นการประกันภัยตัวรถจักรยานยนต์คันที่เช่าซื้อ อีกประการหนึ่งด้วย และเงื่อนไขแห่งความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยรวมถึง ภัยที่จะเกิดแก่รถจักรยานยนต์ด้วย หาใช่เพียงสิทธิหรือความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้นไม่ บริษัท ก. ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์และ ว. ในฐานะผู้ครอบครองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญา เมื่อรถจักรยานยนต์ถูกโจรกรรมสูญหายไปโดยความประมาทของจำเลย และโจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยแล้ว โจทก์ย่อม เข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยเรียกให้จำเลยผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ได้ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 863
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 252


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929 - 930/2560
โจทก์เป็นผู้จัดให้ผู้ตายเอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 และบริษัทอื่นซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 7 โดยโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและเป็นผู้รับประโยชน์ โจทก์จึงเป็นผู้เอาประกันชีวิต แต่โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ สัญญาประกันชีวิตที่โจทก์จัดทำขึ้นย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 โจทก์ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากกรมธรรม์สัญญาประกันชีวิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 7 ชำระเงินตามสัญญาประกันชีวิตได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 7 จะมิได้ฎีกาในเรื่องนี้ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลรวมไปถึงจำเลยที่ 7 ด้วยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 863
ป.วิ.พ. ม. 142 (5)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13071/2558
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์มาจากบริษัทเงินทุน ก. โจทก์จึงมีเพียงสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์ เมื่อโจทก์ขายรถยนต์คันที่เช่าซื้อให้แก่ บ. โดยมีข้อตกลงให้ บ. ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่เหลืออันเป็นการโอนสิทธิการเช่าซื้อโดยบริษัทเงินทุน ก. ไม่ได้ตกลงด้วย ย่อมเป็นการโอนสิทธิการเช่าซื้อโดยมิชอบ และไม่มีผลผูกพันบริษัทเงินทุน ก. ผู้ให้เช่าซื้อ โจทก์จึงยังคงต้องรับผิดต่อบริษัทเงินทุน ก. ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นเดิม และหากมีการชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว รถยนต์ที่เช่าซื้อก็ตกเป็นสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 ทำให้โจทก์สามารถโอนรถยนต์ทางทะเบียนให้แก่ บ. ต่อไปได้ การที่ บ. ครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นเพียงการครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงยังเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เช่าซื้อในขณะทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งโจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยสูญหายไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
ขณะเกิดเหตุ บ. ติดเครื่องรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้โดยไม่ล็อกประตูรถ แล้วเดินไปสูบบุหรี่ห่างจากตัวรถนานประมาณ 20 นาที โดยไม่เห็นจุดจอดรถยนต์ เป็นการจอดรถยนต์ไว้ในลักษณะไม่ใส่ใจ และไม่สนใจว่าจะเกิดเหตุร้ายกับรถยนต์หรือไม่ เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้สูญหายไป พฤติการณ์ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของ บ. ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแทนโจทก์ จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งรับประกันไว้ต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 879 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 572, ม. 863, ม. 879
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที