Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 86 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 86” คืออะไร? 


“มาตรา 86” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 86 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามกฎหมายและข้อบังคับ ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่  “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 86” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 86 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2554
แม้จำเลยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสิบสองร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลว่า เอาความอันเป็นเท็จฟ้องจำเลยต่อศาล แต่ความจริงเป็นกรณีที่สมาคม ย. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ทั้งสิบสองกระทำการในฐานะกรรมการอำนวยการซึ่งเป็นผู้แทนของสมาคมที่เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของสมาคม ย. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 และ 86 ประกอบกับธรรมนูญและข้อบังคับของสมาคมกำหนดให้คณะกรรมการอำนวยการของสมาคม ทำหน้าที่บริหารงานของสมาคม ทั้งในขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทำหนังสือมอบให้โจทก์ที่ 12 ฟ้องจำเลยดังกล่าว โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งนายกสมาคม ย. โดยคณะกรรมการอำนวยการมีมติให้โจทก์ที่ 1 มีอำนาจในการสั่งการและลงนามในเอกสารใดๆ เสมือนเป็นนายกสมาคมทุกประการ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองเป็นตัวการร่วมกับสมาคม ย. ฟ้องจำเลยด้วย จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองเป็นคดีอาญาดังกล่าวได้ ที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองเป็นคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นฟ้องเท็จ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 195, ม. 225
ป.พ.พ. ม. 70, ม. 86
ป.อ. ม. 175


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2539
การดำเนินกิจการของสมาคมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่โดยคณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการตามกฎหมายและข้อบังคับของสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 86 เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญลงมติไม่ไว้วางใจคณะกรรมการชุดเดิม ทำให้คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งไปและตั้งคณะกรรมการรักษาการขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่ชั่วคราวในการดำเนินกิจการของผู้คัดค้านตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ การที่คณะกรรมการรักษาการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ก็เป็นการดำเนินการตามที่รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้การตั้งคณะกรรมการชุดใหม่กับการประชุมของคณะกรรมการชุดใหม่ภายหลังจากนั้นชอบด้วยกฎหมายด้วย ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 วรรคสามที่ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการชุดใหม่ในระหว่าง ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายสำหรับกรณีที่คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการในกรณีปกติธรรมดา และอยู่ในระหว่างดำเนินการทางทะเบียนเพื่อให้การดำเนินการของสมาคมมีความต่อเนื่องหรือไม่มีเหตุขัดข้องในช่วงว่างกรรมการ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 85 วรรคสาม, ม. 86


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6003/2534
วันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์ขอเลื่อนคดีอ้างเหตุตัวโจทก์ป่วย ในวันนัดที่สองคู่ความขอเลื่อนอ้างว่าคดีมีทางตกลงกันได้ศาลอนุญาตโดยมีคำสั่งกำชับว่านัดหน้าหากตกลงกันไม่ได้ให้โจทก์เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ และโจทก์ไม่ได้แถลงต่อศาลว่าโจทก์มีนัดอยู่ก่อนแล้วไม่อาจมาศาลในวันนัดได้ เมื่อถึงวันนัดโจทก์ ขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่ามีกิจธุระซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว ทั้งไม่นำ พยาน ปาก อื่นมาสืบ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่นำพาต่อคำสั่งศาล ดังกล่าว พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ประวิงคดี ศาลมีอำนาจงดสืบพยาน โจทก์ได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 40, ม. 86
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที