“มาตรา 857 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 857” คืออะไร?
“มาตรา 857” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 8507“ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การนำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัดนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ลงด้วยเงื่อนไขว่าจะมีผู้ชำระเงินตามตั๋วนั้น ถ้าและตั๋วนั้นมิได้ชำระเงินไซร้ จะเพิกถอนรายการอันนั้นเสียก็ได้ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 857” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 857 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2528
ข้อสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า การสั่งจ่ายเช็คต้องลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดย ฉ. และ จ. ร่วมกันพร้อมทั้ง ประทับตราบริษัทโจทก์เป็นสำคัญ เช็คพิพาททั้งสองฉบับปรากฏว่า ลายมือชื่อจ.เป็นลายมือปลอมเช็คนั้นจึงเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เพราะมีแต่ฉ.ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแต่ผู้เดียวจำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ดังกล่าวย่อมไม่ทำให้เช็คนั้นหลุดพ้นและยังเป็นการผิดสัญญา เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวด้วย การที่ ฉ. ลง ลายมือชื่อแท้จริงในเช็คไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์อยู่ในฐานเป็น ผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1006 การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ที่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายปลอม โดยที่จำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า โจทก์ได้ทำปลอมหรือได้ร่วมกระทำปลอมแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายไปตามเช็คมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าโจทก์ เป็นลูกหนี้จำเลยและโจทก์มีสิทธิให้จำเลยเพิกถอนรายการนั้นเสียได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและให้ จำเลยคืนเงินที่จำเลยจ่ายไปตามเช็คซึ่งลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเป็น ลายมือชื่อปลอม แล้วนำจำนวนเงินนั้นมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน แสดงว่าโจทก์เป็นลูกหนี้ กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนธันวาคม 2518 และฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2525 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 857, ม. 902, ม. 987, ม. 1006, ม. 1008
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2528
ข้อสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า การสั่งจ่ายเช็คต้องลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดย ฉ. และ จ. ร่วมกัน พร้อมทั้งประทับตราบริษัทโจทก์เป็นสำคัญ เช็คพิพาททั้งสองฉบับปรากฏว่า ลายมือชื่อ จ. เป็นลายมือปลอม เช็คนั้นจึงเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เพราะมีแต่ ฉ. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแต่ผู้เดียวจำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ดังกล่าวย่อมไม่ทำให้เช็คนั้นหลุดพ้นและยังเป็นการผิดสัญญา เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวด้วย การที่ ฉ. ลง ลายมือชื่อแท้จริงในเช็คไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์อยู่ในฐานเป็น ผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1006 การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ที่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายปลอม โดยที่จำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า โจทก์ได้ทำปลอมหรือได้ร่วมกระทำปลอมแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายไปตามเช็คมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าโจทก์ เป็นลูกหนี้จำเลยและโจทก์มีสิทธิให้จำเลยเพิกถอนรายการนั้นเสียได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและให้ จำเลยคืนเงินที่จำเลยจ่ายไปตามเช็คซึ่งลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเป็น ลายมือชื่อปลอม แล้วนำจำนวนเงินนั้นมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน แสดงว่าโจทก์เป็นลูกหนี้ กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนธันวาคม 2518 และฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2525 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 857, ม. 902, ม. 987, ม. 1006, ม. 1008
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2523
การที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คของจำเลย เป็นการทำไปในฐานะตัวแทนจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับนั้นเท่านั้น และตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็มีว่า การนำเช็คฝากเข้าบัญชีจะถือว่าธนาคารได้รับฝากเงินต่อเมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น ๆ ได้แล้วเมื่อธนาคารโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คของจำเลยไม่ได้ธนาคารโจทก์ก็มีอำนาจเพิกถอนรายการรับฝากเงินตามเช็คดังกล่าวของจำเลยออกได้จึงยังถือไม่ได้ว่าธนาคารโจทก์ได้รับฝากเงินนั้นไว้จากจำเลยแล้ว
จำเลยเพียงทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์เท่านั้นจึงไม่ใช่เรื่องทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856. และถือไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น และตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่า ถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของผู้ฝากไป ผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินนั้นเป็นต้นไป ก็มิได้มีข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ กับทั้งมิใช่เรื่องกู้ยืมเงิน ตามมาตรา654 แต่เป็นเรื่องของธนาคารโจทก์จ่ายเงินตามคำสั่งของจำเลยผู้ออกเช็คเกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีซึ่งตามมาตรา 991 มิได้บังคับโดยเฉียบขาดมิให้ธนาคารจ่ายเงินเกินบัญชีของผู้เคยค้า และตามเงื่อนไขคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวให้ธนาคารโจทก์มีอำนาจจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีได้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับเกินไปคืนให้ธนาคารโจทก์เมื่อจำเลยไม่คืนเงินให้โจทก์ จำเลยก็ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามมาตรา 7 และ 224 โดยไม่ทบต้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 7, ม. 224, ม. 856, ม. 857, ม. 991