Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 85 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 85 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 85” คืออะไร? 


“มาตรา 85” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 85 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคม และสมาคมต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
              ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของสมาคมตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคมผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคม นายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และให้นำความในมาตรา ๘๒ วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
              ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่ ถ้าข้อบังคับของสมาคมมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการของสมาคมชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่  “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 85” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 85 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2542
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ต้องใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติหากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น
สัญญาการใช้บัตรเครดิตเป็นกรณีที่โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสดตลอดจนสามารถใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองออกไปแม้จำเลยจะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีกระแสรายวันโดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วยก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้หรือนำเงินเข้าบัญชีลดยอดหนี้ภายในสิ้นเดือนนั้นแต่จำเลยมิได้ชำระให้เสร็จสิ้นทั้งมิได้นำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดหนี้ โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/34 (7), ม. 85


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2539
การดำเนินกิจการของสมาคมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่โดยคณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการตามกฎหมายและข้อบังคับของสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 86 เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญลงมติไม่ไว้วางใจคณะกรรมการชุดเดิม ทำให้คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งไปและตั้งคณะกรรมการรักษาการขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่ชั่วคราวในการดำเนินกิจการของผู้คัดค้านตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ การที่คณะกรรมการรักษาการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ก็เป็นการดำเนินการตามที่รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้การตั้งคณะกรรมการชุดใหม่กับการประชุมของคณะกรรมการชุดใหม่ภายหลังจากนั้นชอบด้วยกฎหมายด้วย ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 วรรคสามที่ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการชุดใหม่ในระหว่าง ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายสำหรับกรณีที่คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการในกรณีปกติธรรมดา และอยู่ในระหว่างดำเนินการทางทะเบียนเพื่อให้การดำเนินการของสมาคมมีความต่อเนื่องหรือไม่มีเหตุขัดข้องในช่วงว่างกรรมการ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 85 วรรคสาม, ม. 86
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที