Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 846 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 846 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 846” คืออะไร? 


“มาตรา 846” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 846 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้ากิจการอันได้มอบหมายแก่นายหน้านั้น โดยพฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จไซร้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้า
              ค่าบำเหน็จนั้นถ้ามิได้กำหนดจำนวนกันไว้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันเป็นจำนวนตามธรรมเนียม  “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 846” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 846 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2540
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา845และ846แสดงให้เห็นว่าสัญญานายหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการตกลงกันระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะทำสัญญากับบุคคลที่จะทำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาที่เรียกว่านายหน้าเมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่เคยรู้จักจำเลยพ. น้องจำเลยเป็นผู้ติดต่อขอให้โจทก์ช่วยเสนอขายที่ดินของจำเลยโดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจากพ. พ. ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จำเลยจะให้ในอัตราร้อยละ3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้นพ. จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ2ส่วนพ. จะเอาไว้ร้อยละ1โจทก์ไม่เคยตกลงเรื่องค่านายหน้ากับจำเลยในวันทำสัญญาจะซื้อขายโจทก์ได้รับเงินค่านายหน้าจากพ. และในวันที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยกับจ. โจทก์ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินจ. เป็นคนรับเงินค่านายหน้าไว้แทนโจทก์200,000บาทและบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อพ. แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จ.มาซื้อที่ดินจำเลยแม้โจทก์ตกลงร่วมกับพ. ทำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้จ. เข้าทำสัญญากับจำเลยหรือจัดการให้จ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจากพ. ก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับพ. เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ร่วมกับพ.ทำหน้าที่ชี้ช่องให้จำเลยกับจ. เข้าทำสัญญากันแล้วโจทก์ย่อมไม่ใช่นายหน้าของจำเลยโจทก์ได้รับแบ่งค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้จากพ. และจ. มาบางส่วนก็เป็นเพราะเหตุที่มีข้อตกลงกันไว้ระหว่างโจทก์กับพ. และจ.แต่โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับเรียกเอาค่านายหน้าจากจำเลยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 845, ม. 846


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2540
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 845 และ 846 แสดงให้เห็นว่า สัญญานายหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการตกลงกันระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะทำสัญญากับบุคคลที่จะทำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาที่เรียกว่านายหน้า เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่เคยรู้จักจำเลย พ.น้องจำเลยเป็นผู้ติดต่อขอให้โจทก์ช่วยเสนอขายที่ดินของจำเลย โดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจาก พ. พ.ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จำเลยจะให้ในอัตราร้อยละ 3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้น พ.จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ 2 ส่วน พ.จะเอาไว้ร้อยละ 1 โจทก์ไม่เคยตกลงเรื่องค่านายหน้ากับจำเลยในวันทำสัญญาจะซื้อขายโจทก์ได้รับเงินค่านายหน้าจาก พ. และในวันที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยกับ จ.โจทก์ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดิน จ.เป็นคนรับเงินค่านายหน้าไว้แทนโจทก์ 200,000 บาท และบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อ พ. แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้ จ.มาซื้อที่ดินจำเลย แม้โจทก์ตกลงร่วมกับ พ.ทำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้ จ.เข้าทำสัญญากับจำเลย หรือจัดการให้ จ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจาก พ. ก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ พ.เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ร่วมกับ พ.ทำหน้าที่ชี้ช่องให้จำเลยกับ จ.เข้าทำสัญญากันแล้ว โจทก์ย่อมไม่ใช่นายหน้าของจำเลย โจทก์ได้รับแบ่งค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้จาก พ.และ จ.มาบางส่วน ก็เป็นเพราะเหตุที่มีข้อตกลงกันไว้ระหว่างโจทก์กับ พ.และ จ.แต่โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับเรียกเอาค่านายหน้าจากจำเลยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 845, ม. 846


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2535
โจทก์ช่วยติดต่อขายที่ดินให้จำเลยสำเร็จ เป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดย พฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จ ถือได้ว่าตกลงกันโดย ปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 846 วรรคแรก ส่วนข้อตกลงให้เงินส่วนที่เกินจากราคาที่ดินที่จำเลยกำหนดไว้ 2,000,000 บาทเป็นค่าบำเหน็จแก่โจทก์นั้นเป็นข้อตกลงพิเศษส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกัน แม้จำเลยจะขายที่ดินให้แก่ ฉ. ในราคา 2,000,000 บาทก็ตามโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จ และเมื่อไม่ได้ความว่าค่าบำเหน็จนั้นได้ตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้โดยชัดแจ้ง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 846
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที