Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 84 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 84” คืออะไร? 


“มาตรา 84” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 84 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และสมาคมต้องนำข้อบังคับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ลงมติและให้นำความในมาตรา ๘๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 84” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 84 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2540
คำให้การที่ขัดแย้งกันเองได้แก่คำให้การที่ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทาง ไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นเป็นไปในทางหนึ่งทางใด
คดีนี้ตอนแรกจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรู้จักหรือไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จำเลยไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้อง ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม จำเลยไม่เคยกู้เงินและไม่เคยรับเงินจำนวน 150,000 บาทจากโจทก์ แม้ตอนต่อมาจำเลยจะให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เกิดจากภรรยาจำเลยเคยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อปี 2530 และภรรยาจำเลยได้ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนไปแล้ว หากแต่โจทก์ไม่ได้คืนต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความและให้โจทก์ยึดถือไว้ในการที่ภรรยาจำเลยกู้ยืมเงิน โจทก์จึงกรอกข้อความในสัญญากู้ยืมเงินโดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันแล้วนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีนี้ก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์และหนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม เพียงแต่เหตุแห่งการปฏิเสธขัดแย้งกันไม่ชัดแจ้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมเพราะเหตุใดเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีประเด็นนำสืบตามคำให้การ แต่คดียังมีประเด็นข้อพิพาทและโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องโจทก์จึงจะชนะคดีได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 84
ป.วิ.พ. ม. 177, ม. 183


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2539
คำว่า "การขายที่ดินโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร"หาได้หมายความว่าเป็นการขายที่ดินที่มีการพัฒนา เช่นแบ่งที่ดินออกเป็นแปลง ๆ เพื่อสะดวกแก่การขาย หรือจัดทำสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา เข้าที่ดินเท่านั้นไม่การซื้อที่ดินมาเพื่อขายต่อเพื่อเอากำไร แม้จะมิได้กระทำให้ที่ดินเจริญขึ้น ก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ซื้อที่ดินซึ่งอยู่ที่จังหวัดราชบุรีในปี 2532 เมื่อซื้อแล้วมิได้ทำประโยชน์ใด ๆ และโจทก์ได้ขายไปในปี 2533 เป็นการขายในเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาในการใช้ที่ดินเพื่อประกอบอาชีพอื่นอันมิใช่การค้าที่ดิน แสดงให้เห็นเจตนาว่าซื้อที่ดินมาเพื่อหากำไร การขายที่ดินจึงเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษี โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน จำเลยให้การว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่แก่โจทก์มิใช่ตกแก่จำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 84
ป.รัษฎากร ม. 48, ม. 78


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8267/2538
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาทคือโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1720 ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสองแปลงไว้ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วยตลอดมา จำเลยจะอ้างว่าจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่ผู้เดียวโดยจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือหาได้ไม่ หากจำเลยประสงค์จะครอบครองที่ดินแต่ผู้เดียว จำเลยจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจะไม่ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีสิทธิอ้างอายุความมรดกขึ้นต่อสู้เพื่อที่จะบอกปัดไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ และเมื่อถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแทนโจทก์ด้วยตลอดมาเช่นนี้แล้วคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความมรดก โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 84 (1)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที