Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 831 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 831 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 831” คืออะไร? 


“มาตรา 831” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 831 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  อันความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนนั้น ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต เว้นแต่บุคคลภายนอกหากไม่ทราบความนั้นเพราะความประมาทเลินเล่อของตนเอง“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 831” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 831 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858 - 861/2554
อำนาจในการดำเนินคดีอาญาแทนต้องพิจารณาถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ว่า ผู้กระทำการแทนโจทก์นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในขณะนั้นหรือไม่เป็นสำคัญ หากมีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีอำนาจอันเป็นการไม่ชอบแล้ว ก็ชอบที่ศาลจะไม่อนุญาตให้ดำเนินกระบวนพิจารณานั้นหรือหากอนุญาตไปก่อนแล้วโดยผิดหลงก็ต้องสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย เพื่อจักได้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายต่อไป หาใช่กรณีมีเหตุจำเป็นในการคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริตที่จะต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 831 มาใช้บังคับแต่อย่างใด เมื่อการถอนฟ้องกระทำโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจถอนฟ้องแทนโจทก์จึงไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีไปโดยผิดหลง ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ต้องเพิกถอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 831
ป.วิ.พ. ม. 27
ป.วิ.อ. ม. 3 (4), ม. 5 (3)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2512
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานน้อยกว่าสามวันโดยมิได้ทำคำร้องแสดงว่าเหตุใดจึงยื่นภายในกำหนดเวลาไม่ได้. เพื่อให้ศาลได้มีโอกาสพิจารณาเหตุผลของโจทก์ว่าสมควรจะรับบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่. ดังนี้ ศาลจะสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์โดยเหตุผลเพียงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจงใจ. และไม่ทำให้คู่ความอีกฝ่ายเสียเปรียบหาได้ไม่. เพราะข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงคดีมีอยู่อย่างชัดแจ้ง.
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า รถยนต์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินบริคณห์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก. ขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้ถอดถอนจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจทำนิติกรรมใดๆ ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ต่อไป. สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยไม่ผูกพันกองมรดก. โจทก์มิได้กล่าวแก้ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวแต่ประการใด. เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธ. ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมรับ. จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831,1720 หรือไม่.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 831, ม. 1719, ม. 1720
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 88, ม. 177, ม. 183


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2512
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานน้อยกว่าสามวันโดยมิได้ทำคำร้องแสดงว่าเหตุใดจึงยื่นภายในกำหนดเวลาไม่ได้เพื่อให้ศาลได้มีโอกาสพิจารณาเหตุผลของโจทก์ว่าสมควรจะรับบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่ดังนี้ ศาลจะสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์โดยเหตุผลเพียงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจงใจ และไม่ทำให้คู่ความอีกฝ่ายเสียเปรียบหาได้ไม่ เพราะข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงคดีมีอยู่อย่างชัดแจ้ง
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า รถยนต์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินบริคณห์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดกขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้ถอดถอนจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจทำนิติกรรมใดๆ ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยไม่ผูกพันกองมรดก โจทก์มิได้กล่าวแก้ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวแต่ประการใด เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมรับ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831,1720 หรือไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 831, ม. 1719, ม. 1720
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 88, ม. 177, ม. 183
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที